ด้วยพระดําริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม ขณะทรงดํารงตําแหน่งนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ว่า“ ความสําคัญของการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบันนี้ จะต้องอนุวัติให้ทันกับความเจริญของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” พระองค์จึงทรงมีพระประสงค์ที่จะขยายการศึกษาของ คณะสงฆ์ให์เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในปีพ.ศ. 2513 -2514 ได้ทรงจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ทําหน้าที่ร่างหลักสูตรพระ ปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้เป็นหลักสูตรหนึ่งในปี พ.ศ. 2514 สมัย ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ดํารงตําแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อกระทรวง ฯ ประกาศใช้หลักสูตรแล้ว พระองค์ได้ทรง เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แห่งแรกขึ้นชื่อว่าโรงเรียนวชิรมกุฏ ที่บริเวณหลัง วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นสาขาแห่งหนึ่งของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยโดยใช้หลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เมื่อวันที่1ตุลาคมพ.ศ. 2514
ในปีเดียวกันนี้ นายฉบับ คุณนายสงวน ชูจิตารมย์ ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดิน จํานวน 186 ไร่ ที่ตําบล สนับทึบ อําเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อมาได้มีผู้บริจาคซื้อถวายเพิ่มเติมเป็น 736 ไร่) ให้เป็นที่ตั้งสถานศึกษา ของคณะสงฆ์ขยายการศึกษาออกไปสู่ชนบท เปิดทําการสอนพระภิกษุสามเณรขึ้น ได้ทรงวางวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบัน สงฆ์แห่งนี้ไว้ 6 ประการ คือ :-
- เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์
- เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนของพระภิกษุ - สามเณร
- เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการทางพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ
- เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการชั้นสูงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
- เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม
- เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาฝากอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจในระดับสูง เช่น งานด้าน การปกครอง การเผยแผ่ การสาธารณูปการ เป็นต้น
ขณะที่ทรงเตรียมการจะดําเนินงานภายหลังชาวบ้านเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว แต่พระดําริดังกล่าวยังมิ ทันสัมฤทธิ์ผล พระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514
ต่อมาปี พ.ศ. 2516 พระเถรานุเถระผู้มีบทบาทในการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์หลายรูป เช่น
- สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ วัดบวรนิเวศวิหาร
- สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบกนฺตาจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม
- สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกโร) วัดเทพศิรินทราวาส
- พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร
- พระธรรมปาโมกข์ (สุวรรณ กญฺจโน) วัดมกุฏกษัตริยาราม
- พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล 2
- พระเทพปัญญากวี (บรรจง กลฺลิโต) วัดมกุฏกษัตริยาราม
ได้ร่วมกันก่อตั้งสถาบันสงฆ์แห่งนี้ขึ้น เริ่มแรกใช้ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย เป็นที่รู้จัก กันของประชาชนโดยทั่วไปว่า “ วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย ”ในปี พ.ศ. 2519 ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ “วัดชูจิตธรรมาราม” เพื่อเป็น เกียรติแก่วงศ์สกุล ชูจิตารมย์ ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก (ปีพ.ศ. 2521 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา) ต่อมาเมื่อ วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระนามาภิไธยในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยาม มกุฏราชกุมาร ว่า “มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย” และทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อว่า “ ม.ว.ก.” ภายใต้เสมา ธรรมจักร พร้อมทั้งพระราชทานสุภาษิตว่า “วชิรูปมจิตฺโต สิยา” (พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร) ให้เป็นตราประจําสถาบัน