เทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์: ในยุค Thailand 4.0
(The Role of Artificial Intelligence: In the Era of Thailand 4.0)
ผศ.สุพล พรหมมาพันธุ์
คณะเทคโนโลยีสารสนเทศ มหาวิทยาลัยศรีปทุม
ปัจจุบัน เราได้ยินคำว่า “ปัญญาประดิษฐ์” หรือ AI (Artificial Intelligence) กันหนาหูมากขึ้น เนื่องจากเทคโนโลยีได้ก้าวไปข้างหน้าอย่างรวดเร็ว ปัญญาประดิษฐ์เป็นสายหนึ่งของวิทยาศาสตร์ และเทคโนโลยี ซึ่งยืนอยู่บนหลักการของวิทยาการคอมพิวเตอร์ (Computer Science), ชีววิทยา (Biology), จิตวิทยา (Psychology), ภาษาศาสตร์ (Linguistics), คณิตศาสตร์ (Mathematics), และวิศวกรรมศาสตร์ (Engineering) จุดมุ่งหมายของปัญญาประดิษฐ์ คือ การพัฒนาคอมพิวเตอร์ให้สามารถคิด, มองเห็น, ได้ยิน, เดิน และมีความรู้สึกได้เช่นเดียวกับมนุษย์ หรือเกี่ยวข้องกับการยืมเอาบุคลิกลักษณะความฉลาดต่างๆ ของมนุษย์มาประยุกต์ใช้ในการทำงานตามกระบวนการหรือขั้นตอนของคอมพิวเตอร์ เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์สามารถใช้งานได้ง่าย โดยการพัฒนาหน้าที่การทำงานของคอมพิวเตอร์ให้คล้ายคลึงกับมนุษย์ เช่น ความมีเหตุผล, การเรียนรู้ และการแก้ไขปัญหา เป็นต้น เมื่อต้นปีที่ผ่านมามีรายงานข่าวจากเว็บไซต์ www.aripfan.com ได้รายงานว่า บิล เก็ต (Bill Gates) ผู้ก่อตั้งบริษัทไมโครซอฟท์ (Microsoft) ได้ออกมาแสดงความคิดเห็นถึงความน่ากังวลเกี่ยวกับเรื่อง “ปัญญาประดิษฐ์” ว่าตัวเขาเองนั้นอยู่ในกลุ่มที่มีความเกี่ยวข้องกับ ปัญญาประดิษฐ์สุดอัจฉริยะ อย่างแรกเลยก็คือเครื่องจักรสามารถทำงานให้เราได้หลายๆ อย่างก็จริง แต่พวกมันเหล่านั้นไม่ได้เป็น ”ปัญญาประดิษฐ์สุดอัจริยะ” ซึ่งในเรื่องนี้อาจจะเป็นทิศทางที่ดีถ้าหากว่าเรารู้จักควบคุมมันได้ แต่ถ้าหากในอนาคตอีก 10 หรือ 20 ปี ที่ปัญญา ประดิษฐ์มีความฉลาดมากยิ่งขึ้นล่ะ? จะทำให้เกิดเหตุการณ์เหมือนในหนังเรื่อง Terminator หรือไม่? และในเรื่องนี้ความกังวลไม่ได้มีเพียงแค่ บิล เกต คนเดียวที่กังวลใจ แม้แต่ สตีฟ โวสนิแอก (Steva Wozniak) ผู้ร่วมก่อตั้ง Apple ก็ยังรุ้สึกกังวลใจเช่นกัน เนื่องจากทุกวันนี้มนุษย์สร้างอุปกรณ์ที่สามารถดูแลทุกอย่างได้ด้วยตัวเอง และในอนาคตยังมีแนวโน้มว่า จะสามารถประมวลผลต่างๆ ได้รวดเร็วและแม่นยำเทียบเท่าหรือมากกว่ามนุษย์เองด้วยซ้ำ และในไม่ช้ามนุษย์นี่ล่ะที่จะกลายเป็นส่วนเกินบนโลกเสียเอง ข่าวไทยรัฐออนไลน์ ได้รายงานว่า เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ.2559 ที่ผ่านมาไม่นานนี้ อัลฟาโกะ (AlphaGo) ปัญญาประดิษฐ์ที่พัฒนาโดยบริษัทในเครือของกูเกิล ก็สามารถเอาชนะแชมป์โกะ หรือหมากล้อมชาวเกาหลีใต้ชื่อ อี เซดอล ได้ 3 ต่อ 0 เกม ความจริงแล้ว ปัญญาประดิษฐ์นั้น มีขอบเขตความรู้ที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้ใน 3 ด้านหลัก คือ: (1) ความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ (Cognitive Science), (2) หุ่นยนต์ (Robotic),และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่าธรรมชาติ (Natural Interfaces)
- ความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ (Cognitive Science) ในขั้นตอนนี้ เป็นขั้นตอนที่เน้นเรื่องการ
วิจัยว่า สมองของมนุษย์ทำงานได้อย่างไร และมนุษย์คิดและเรียนรู้ได้อย่างไร จากผลลัพธ์ดังกล่าวจึงมีผลในกระบวนการการประมวลผลสารสนเทศของมนุษย์ ซึ่งเป็นพื้นฐานสำคัญในการพัฒนาของการประยุกต์ใช้ระบบคอมพิวเตอร์ในลักษณะของปัญญาประดิษฐ์ ในส่วนของการประยุกต์ใช้ความรู้ความเข้าใจทางด้านวิทยาศาสตร์ยังรวมไปถึงระบบผู้ เชี่ยวชาญ หรือฐานความรู้ ระบบการปรับตัว เกี่ยวกับการเรียนรู้ , ตรรกะที่ไม่ชัดเจน, ขั้นตอนที่แน่นอนเกี่ยวกับการแก้ปัญหาทางพันธุศาสตร์, เครือข่ายประสาท, และตัวแทนสติปัญญาความรู้
- หุ่นยนต์ (Robotics) หลักการของหุ่นยนต์ก็จะอยู่บนพื้นฐานของวิศวกรรมศาสตร์และสรีระศาสตร์ นั่นก็คือการผลิตหุ่นยนต์ขึ้นมาและควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์ให้มีความสามารถเหมือนมนุษย์ ซึ่งรวมถึงการมองเห็นได้เหมือนรู้สึกสัมผัส, ประสาทสัมผัส, ความหลักแหลม, การเคลื่อนที่, การเดินเรือ หุ่นยนต์หรือนวัตกรรมหุ่นยนต์ (Robots) ซึ่งเป็นอุปกรณ์อิเล็กทรอนิกส์ชนิดหนึ่ง ที่ควบคุมการทำงานด้วยระบบคอมพิวเตอร์ มีขนาดและรูปร่างแตกต่างกันออกไป ขึ้นอยู่กับวัตถุประสงค์ที่ออกแบบมาว่าเพื่อใช้ทำงานอะไร สามารถจับวัตถุสิ่งของที่รายล้อมอยู่รอบข้างได้ ส่วนใหญ่งานที่ใช้หุ่นยนต์เข้ามาช่วยในการทำงาน มักเป็นงานที่น่าเบื่อหน่ายรำคาญหรือเป็นงานที่เสี่ยงอันตราย ซึ่งมนุษย์ไม่สามารถเข้าไปปฏิบัติการได้ เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม การกู้ระเบิด การทำความสะอาดกากนิวเคลียร์ หรือแม้กระทั่งการสำรวจน้ำมันใต้ทะเลลึก เป็นต้น หุ่นยนต์เป็นสาขาหนึ่งของปัญญาประดิษฐ์ อันเป็นวิวัฒนาการที่จะทำให้คอมพิวเตอร์เลียนแบบความสามารถ และความฉลาดของมนุษย์ เช่น การคิดคำนวณได้, เดินได้, พูดได้, มองเห็นได้, รับรู้ความรู้สึกได้, จับวัตถุสิ่งของได้ เป็นต้น
วิวัฒนาการของหุ่นยนต์เกิดขึ้นเป็นครั้งแรกในสหรัฐอเมริกา ในปี ค.ศ. 1961 เป็นหุ่นยนต์ที่ทำงานในโรงงานอุตสาหกรรมของ GM (General Motor) โดยการจับเอาประตูแม่แบบติดตั้งหรือฝังลงไปบนรถแข่ง Ewing (Ewing เป็นชื่อของชาวอเมริกันผู้สร้างรถแข่ง) รวมทั้งการประกอบชิ้นส่วนของรถยนต์ด้วย หุ่นยนต์แบ่งออกได้เป็น 6 ประเภทได้แก่ (1). หุ่นยนต์ส่วนบุคคล (Personal Robotics) ได้แก่ หุ่นยนต์ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยเหลือคนพิการหรือเป็นอัมพาต ซึ่งเป็นหุ่นยนต์ที่โต้ตอบรับคำสั่งจำนวนมากๆ ได้ เช่น สั่งให้เปิดประตูได้, สั่งให้ไปรับจดหมายได้, และสั่งให้ไปเอาน้ำซุปมาทานได้ อย่างกรณีของหุ่นยนต์ของบริษัท Hitachi ที่ออกแบบมาเพื่อใช้จับไข่ ซึ่งเป็นวัตถุที่เปราะบาง และยังมีหุ่นยนต์ประเภทสัตว์เลี้ยง หรือหุ่นยนต์ที่สร้างขึ้นมาสำหรับเป็นเพื่อนกับมนุษย์ เช่น หุ่นยนต์สุนัขไอโบ้ (IBO), (2). หุ่นยนต์บริการ (Service Robotics) ปัจจุบันเริ่มมีมากขึ้น เช่น หุ่นยนต์เติมน้ำมันรถยนต์, หุ่นยนต์บริการตามร้านอาหาร, หุ่นยนต์ช่วยงานกลางคืนในโรงพยาบาล เช่น ในโรงพยาบาล Baltimore’s Franklin Square Hospital จะมีหุ่นยนต์ทำหน้าที่รับยา, ให้อาหารกลางคืนแก่คนไข้, บันทึกการรักษาของแพทย์, และจัดหาอุปกรณ์ต่างๆ ในโรงพยาบาล, (3). หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรม เป็นหุ่นยนต์ที่พบเห็นมากที่สุดกว่าด้านอื่นๆ เช่น ใช้พ่นสีรถยนต์ เชื่อมต่อตัวถังรถยนต์ เป็นต้น (4). หุ่นยนต์รักษาความปลอดภัยและต่อต้าน ออกแบบมาเพื่อใช้งานด้านการทหาร เช่น หุ่นยนต์สำรวจพื้นที่ในสนามรบ ก่อนที่กำลังทหารจะเข้าไป, หุ่นยนต์กู้ระเบิด, หุ่นยนต์ทำความสะอาดกากนิวเคลียร์ , (5). หุ่นยนต์ด้านวิชาการและวิจัย ออกแบบมาเพื่องานวิจัยทางวิชาการ เช่น หุ่นยนต์ช่วยเด็กหัดขับรถยนต์, หุ่นยนต์แคปซูลที่เข้าไปสำรวจอาการของคนไข้ที่ป่วยเป็นโรคชนิดต่างๆ, และ (6). หุ่นยนต์ใช้ออกแบบและพัฒนา ออกแบบมาเพื่อใช้ควบคุมการเคลื่อนไหวในการทำงาน (Motion Controller) สนับสนุนการเคลื่อนไหวของงานที่มีความละเอียดสูงและความเร็วสูง เช่น สนับสนุนความละเอียดการทำงานในระดับย่อยของนาโนเมตร
ล่าสุด นาซ่าร่วมกับเจนเนอรัลมอเตอร์ (General Motors: GM) ของสหรัฐอเมริกา ได้พัฒนา Robonaut 5 (หุ่นยนต์มนุษย์อวกาศ) ขึ้นมา เพื่อในสภาพแวดล้อมเสมือนจริง โดยจะทำหน้าที่สื่อสารจากโลกไปยังดาวอังคาร (www.roboticstrends.com)
จากการรายงานการสำรวจหุ่นยนต์ทั่วโลกในปี ค.ศ. 2008 ของ IFR (Instrument Flight Rules) ในสหรัฐอเมริกา ทำให้ทราบว่า หุ่นยนต์มีปรากฏอยู่ทั่วทุกหนทุกแห่งของมุมโลก เมื่อปลายปี ค.ศ. 2007 หุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมมีประมาณ 1 ล้านตัว และหุ่นยนต์บริการซึ่งปฏิบัติงานตามสถานที่ต่างๆ ทั่วโลก 5.5 ล้านตัว ได้แก่ ในโรงงานอุตสาหกรรม, สถานเสี่ยงอันตราย, โรงพยาบาล, ตามครัวเรือน, อาคารสาธารณะ, ใต้น้ำ, ใต้พื้นโลก, ภาคพื้นสนาม, ในอากาศ และในอวกาศ โดยในปี ค.ศ. 2011 คาดว่า จะมีตัวเลขหุ่นยนต์เพิ่มขึ้นอย่างชัดเจน เฉพาะงานที่เกี่ยวข้องกับ IFR มีปริมาณเพิ่มขึ้น 4 เปอร์เซ็นทั่วโลก และเจริญเติบโตขึ้นเรื่อยๆ โดยเฉพาะหุ่นยนต์ในโรงงานอุตสาหกรรมจะเพิ่มขึ้นปี 1.2 ล้านตัว และหุ่นยนต์บริการจะมีถึง 17 ล้านตัว เฉพาะในปี ค.ศ.2007 ที่ผ่านมามีการประดิษฐ์หุ่นยนต์ที่ใช้ในโรงงานอุตสาหกรรมถึง 115,000 ตัว และในปลายปี ค.ศ. 2008 มีเม็ดเงินไหลเวียนอยู่ในตลาดหุ่นยนต์ถึง 18 พันล้านดอลล่าร์สหรัฐ ซึ่งรวมทั้งอุปกรณ์ฮาร์ดแวร์ ซอฟต์แวร์ อุปกรณ์ต่อพ่วงรอบข้างคอมพิวเตอร์ และการพัฒนาในโรงงานอุตสาหกรรม เมื่อเปรียบเทียบกับยอดรวมของเม็ดเงินไหลเวียนอยู่ในตลาดไอทีปี ค.ศ. 2007 เพียง 915 พันล้านยูโร ซึ่งเป็นการคาดการณ์โดย EITO สถาบันการวิจัยตลาดไอทีในยุโรป (http://robotics.youngester.com)
- ความสัมพันธ์ระหว่างธรรมชาติ (Natural Interfaces) เป็นการพัฒนาระบบคอมพิวเตอร์ให้เลียนแบบธรรมชาติของมนุษย์ เช่น การพูด ทำให้หุ่นยนต์สามารถสนทนาสื่อสารกับมนุษย์และเข้าใจภาษามนุษย์ได้ ไม่นานมานี้เว็บ https://hilight.kapook.com ก็ได้รายงานข่าวว่า จีนเผยโฉม เจียเจีย หุ่นยนต์สาวสวยเสมือนจริง เลียนแบบได้คล้ายมนุษย์มากยิ่งขึ้นไปอีกระดับ พูดได้ ขยับริมฝีปากตาม กลอกตาเป็นธรรมชาติ ที่สำคัญหน้าตาจิ้มลิ้มสุด ๆ ซึ่งในลักษณะนี้อาจรวมไปถึงภาษาธรรมชาติ การจดจำเสียง, ความสัมพันธ์ระหว่างหลายความรู้สึก, และความจริงเสมือนด้วย
ดังนั้น จะเห็นได้ว่า วิถีแห่งอนาคต ปัญญาประดิษฐ์ รวมถึงหุ่นยนต์ จะเข้ามามีบทบาทเกือบในทุกวิถีทางของชีวิตมนุษย์ ทำให้มนุษย์มีความสะดวกสบายมากขึ้น ในขณะเดียวกันมนุษย์ก็ต้องปรับตัวให้เข้ากับสภาพแวดล้อม เพื่อรองรับกับเหตุการณ์ในอนาคตที่จะเกิดขึ้น เช่น ในโรงงานอุตสาหกรรม หรือในบ้าน เมื่อมีการนำหุ่นยนต์ เข้ามาทำงานแทนมนุษย์มากขึ้น ย่อมส่งผลต่อการว่างงาน ซึ่งอาจก่อให้เกิดปัญหาทางสังคมตามมา หรือในกรณีที่หุ่นยนต์มีความฉลาดกว่ามนุษย์ อาจเกิดเหตุการณ์ที่หุ่นยนต์หันกลับมาทำร้ายมนุษย์ได้เหล่านี้ เป็นต้น จึงควรต้องวางแผนการรับมือเทคโนโลยีปัญญาประดิษฐ์นี้เอาไว้ด้วย.