สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม จวน ศิริสม ฉายา อุฎฺฐายี สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 7 ปี สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สิริพระชันษา 74 ปี

juan 02                juan 03

พระประวัติ

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช มีพระนามเดิมว่า ลำจวน ศิริสม ภายหลังเปลี่ยนพระนามเป็น จวน[1] ประสูติเมื่อวันอาทิตย์ที่ 16 มกราคม พ.ศ. 2440 ที่อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี เมื่อพระชันษาได้ 9 ปี ได้เข้ามาศึกษาชั้นประถมศึกษาที่โรงเรียนวัดคฤหบดี จังหวัดธนบุรี จนจบชั้น ป. 3 แล้วกลับภูมิลำเนาถึงปี พ.ศ. 2452 ทรงจบชั้นมัธยมศึกษา แล้วเข้าเรียนต่อที่โรงเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้า ได้ไม่นานต้องลาออกเพราะประชวรโรคเหน็บชา ถึงปี พ.ศ. 2453 ทรงไปศึกษาอยู่กับพระมหาสมณวงศ์ (แท่น โสมทดฺโต) เจ้าอาวาสวัดมหาสมณารามราชวรวิหาร (วัดเขาวัง) จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งเป็นพี่ชายของพระอัยกา (ตา) จนพระองค์มีพระชันษา 16 ปี จึงได้มาศึกษาพระปริยัติธรรมกับพระอริยมุนี (แจ่ม จตฺตสลฺโล) ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม วันที่ 2 กรกฎาคม พ.ศ. 2457 ได้บรรพชาเป็นสามเณร ที่วัดมกุฏกษัตริยาราม โดยมีพระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ พระอริยมุนี (แจ่ม จตฺตสลฺโล) เป็นพระสรณคมนาจารย์ และอุปสมบทเป็นพระภิกษุเมื่อวันที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2460 โดยมีพระธรรมปาโมกข์ (ถม วราสโย) เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระราชกวี (แจ่ม จตฺตสลฺโล) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

ระหว่างดำรงสมณเพศได้ทรงแสดงพระปรีชาสามารถในทางวิชาการ โดยเป็นบรรณาธิการหนังสือวารสารรายปักษ์สยามวัด ทำให้พระองค์มีความสามารถในการประพันธ์ต่าง ๆ มีโคลง ฉันท์ เป็นต้น

การศึกษา

พ.ศ. 2460 ทรงอุปสมบทเป็นภิกษุ ในปีเดียวกันนี้ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรี และเปรียญธรรม 3 ประโยค

พ.ศ. 2461 สอบได้นักธรรมชั้นโท

พ.ศ. 2462, 2464 และ 2465 สอบได้เปรียญธรรม 4,5 และ 6 ประโยค ตามลำดับ

พ.ศ. 2466 สอบได้นักธรรมชั้นเอก

พ.ศ. 2467, 2470 และ 2472 สอบได้เปรียญธรรม 7,8 และ 9 ประโยค ตามลำดับ

juan 04              juan 05

พระสมณศักดิ์

พ.ศ. 2476 เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญที่ พระกิตติสารมุนี

พ.ศ. 2478 เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชเวที ตรีปิฎกภูษิต ธรรมบัณฑิต ยติคณิสสร บวรสังฆารามคามวาสี

พ.ศ. 2482 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพที่ พระเทพเวที ตรีปิฎกคุณ สุนทรธรรมภูษิต ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ. 2488 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมที่ พระธรรมปาโมกข์ ยุตโยคญาณดิลก ไตรปิฎกธารี ธรรมวาที ยติคณิศร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ. 2490 เป็นรองสมเด็จพระราชาคณะที่ พระศาสนโศภน วิมลญาณอดุลย์สุนทรนายก ตรีปิฎกธรรมาลังการภูสิต ธรรมนิตยสาทร อุดมคณฤศร บวรสังฆาราม คามวาสี

พ.ศ. 2499 เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระมหาวีรวงศ์ จาตุรงคประธานวิสสุต พุทธพจนมธุรสธรรมวาที คัมภีรญาณปริยัติกุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ วิสารศีลาจารวัตร เวไนยบริษัทประสาทกร ธรรมยุติกคณิสสรมหาสังฆนายก

พ.ศ. 2508 เป็นสมเด็จพระสังฆราชที่ สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สุขุมธรรมวิธานธำรง สกลมหาสงฆปรินายก ตรีปิฎกกลากุสโลภาส ภูมิพลมหาราชหิโตปสัมปทาจารย์ อุฏฐายีภิธานสังฆวิสุต ปาวจนุตตมสาสนโสภณ วิมลศีลขันธสมาจารวัตร พุทธศาสนิกบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ อดุลคัมภีรญาณสุนทร บวรธรรมบพิตร อสมเด็จพระสังฆราชพระกรณียกิจ

พระองค์ได้ประกอบพระกรณียกิจด้านการพระศาสนาเป็นอันมาก พอประมวลได้ดังนี้

ด้านการศึกษา

ทรงชำนาญในอักษรขอม อักษรพม่า อักษรมอญ และอักษรโรมัน จากการที่ได้ตรวจชำระพระไตรปิฎกบางปกรณ์ ตามที่ได้รับมอบ ซึ่งจะต้องสอบทานอักษรไทยกับต้นฉบับอักษรขอม เกี่ยวกับอักษรพม่า และอักษรโรมัน

พ.ศ. 2470 เป็นกรรมการตรวจบาลีไวยากรณ์ในสนามหลวง

พ.ศ. 2471 เป็นกรรมการตรวจนักธรรมชั้นโท-เอกในสนามหลวง เป็นกรรมการตรวจบาลี ประโยค 4-5-6

พ.ศ. 2476 เป็นปีที่เริ่มฟื้นฟูกิจการของมหามกุฏราชวิทยาลัยในยุคใหม่ ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการและอนุกรรมการหลายคณะ คือ อนุกรรมการตรวจชำระแบบเรียน เช่น นวโกวาท และ พุทธศาสนสุภาษิต กรรมการอำนวยการหนังสือธรรมจักษุ กรรมการ อุปนายกและนายกกรรมการมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตลอดมาจนสิ้นพระชนม์

ด้านการปรกครองคณะสงฆ์

พ.ศ. 2477 เป็นกรรมการคณะธรรมยุต

พ.ศ. 2485 เป็นสมาชิกสังฆสภา

พ.ศ. 2486 เป็นผู้รักษาการ ในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (อ้วน ติสฺโส) วัดบรมนิวาส

พ.ศ. 2489 เป็นผู้สั่งการในตำแหน่งสังฆนายก แทนสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) วัดเทพศิรินทราวาส

พ.ศ. 2493 เป็นสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่ ซึ่งมีสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (เจริญ ญาณวโร) เป็นสังฆนายกสมัยที่ 2

พ.ศ. 2494 เป็นสังฆนายก สมัยที่ 1[11] และสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่[12]

พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคมโดยตำแหน่ง ตาม พ.ร.บ.คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505

พ.ศ. 2479 กรรมการพิจารณาร่าง พ.ร.บ. ลักษณะปกครองสงฆ์ ฉบับใหม่

พ.ศ. 2503 เป็นสังฆนายก ครั้งที่ 2

พ.ศ. 2505 เป็นผู้บัญชาการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระสังฆราช

ด้านการต่างประเทศ

เสด็จไปดูการพระศาสนาในประเทศลาว มาเลเซีย สิงคโปร์ อินเดีย เนปาล ศรีลังกา ฮ่องกง ไต้หวัน เกาหลี ญี่ปุ่น เวียดนาม ตามคำเชิญของพุทธบริษัทของประเทศนั้น ๆ ทรงไปร่วมงานฉลอง 25 พุทธศตวรรษ ที่ประเทศญี่ปุ่น เป็นผู้แทนสมเด็จพระสังฆราช (วัดเบญจมบพิตร) ไปร่วมประชุมสังคายนาพระไตรปิฎกที่ ย่างกุ้ง ประเทศพม่า เมื่อปี พ.ศ. 2504

งานเผยแผ่พระศาสนา

ได้ทรงดำเนินการมาโดยตลอดไปรูปแบบต่าง ๆ พอประมวลได้ ดังนี้

พ.ศ. 2476 ทรงร่วมกับคณะมิตรสหาย ตั้งสมาคมพุทธศาสนาขึ้นเป็นครั้งแรก คือ พุทธสมาคม เพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนา และส่งเสริมการศึกษา

พ.ศ. 2477 เป็นพระคณาจารย์เอกทางเทศนา (ธรรมกถึก)

พ.ศ. 2479 เป็นกรรมการควบคุมการแปลพระไตรปิฎกภาษาบาลี และ

พ.ศ. 2497 เป็นประธานกรรมการจัดรายการแสดงธรรมทางวิทยุในวันธรรมสวนะงานพระนิพนธ์

พ.ศ. 2469 ทรงแปลตติยสมันตปาสาทิกา อรรถกถาพระวินัย เพื่อใช้เป็นตำรา

พ.ศ. 2482 ทรงแต่ง รตนตฺตยปฺปภาวสิทฺธิคาถาแทน รตนตฺตยปฺปภาวาภิยาจนคาถา และได้ใช้สวดในพระราชพิธีต่อมายังมีพระนิพนธ์อีกมากกว่า 100 เรื่อง เช่น มงคลในพุทธศาสนา สาระในตัวคน วิธีต่ออายุให้ยืน การทำใจให้สดชื่นผ่องใส และฉันไม่โกรธเป็นต้น และมีพระธรรมเทศนาอีกหลายร้อยเรื่อง ที่สำคัญคือ มงคลวิเศษคาถา ที่แสดงในพระราชพิธีเฉลิมพระชนมพรรษา

สิ้นพระชนม์

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) สิ้นพระชนม์โดยอุบัติเหตุทางรถยนต์ในท้องที่อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 เวลา 10:05 น. สิริพระชันษา 74 ปี 336 วัน คณะปฏิวัติประกาศให้สถานที่ราชการลดธงลงครึ่งเสา 3 วัน และข้าราชการไว้ทุกข์ 15 วัน เพื่อถวายความอาลัย และได้รับพระราชทานเพลิงพระศพ ณ เมรุหน้าพลับพลาอิสริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส เมื่อวันที่ 17 มิถุนายน พ.ศ. 2515 (https://th.wikipedia.org)

 การก่อตั้งมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย)

ด้วยพระดำริของสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยารามขณะทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ที่ว่า“ ความสำคัญของการศึกษาของคณะสงฆ์ในปัจจุบันนี้จะต้องอนุวัติให้ทันกับความเจริญของโลกซึ่งเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา” พระองค์จึงทรงมีพระประสงค์ที่จะขยายการศึกษาของคณะสงฆ์ให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้น ในปี พ.ศ. 2513 -2514 ได้ทรงจัดตั้งคณะกรรมการขึ้นคณะหนึ่ง ทำหน้าที่ร่างหลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา และกระทรวงศึกษาธิการประกาศใช้เป็นหลักสูตรหนึ่งในปี พ.ศ. 2514 สมัย ฯพณฯ สุกิจ นิมมานเหมินทร์ ดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการเมื่อกระทรวง ฯ ประกาศใช้หลักสูตรแล้ว พระองค์ได้ทรง

เปิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แห่งแรกขึ้นชื่อว่าโรงเรียนวชิรมกุฏ ที่บริเวณหลัง วัดมกุฏกษัตริยารามกรุงเทพมหานคร เป็นสาขาแห่งหนึ่งของสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัยโดยใช้หลักสูตรพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา เมื่อวันที่1ตุลาคมพ.ศ. 2514 ในปีเดียวกันนี้ นายฉบับ คุณนายสงวน ชูจิตารมย์ ได้มีจิตศรัทธาถวายที่ดิน จำนวน 186 ไร่ ที่ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (ต่อมาได้มีผู้บริจาคซื้อถวายเพิ่มเติมเป็น 736 ไร่) ให้เป็นที่ตั้งสถานศึกษาของคณะสงฆ์ขยายการศึกษาออกไปสู่ชนบท เปิดทำการสอนพระภิกษุสามเณรขึ้น ได้ทรงวางวัตถุประสงค์ในการจัดตั้งสถาบันสงฆ์แห่งนี้ไว้ 6 ประการ คือ :-

1. เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์

2. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนของพระภิกษุ-สามเณร

3. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยเล่าเรียนวิชาการทางพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ

4. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าทางวิชาการชั้นสูงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา

5. เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม

6. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุผู้จะปฏิบัติศาสนกิจในระดับสูง เช่น งานด้าน

การปกครอง การเผยแผ่ การสาธารณูปการ เป็นต้น

ขณะที่ทรงเตรียมการจะดำเนินงานภายหลังชาวบ้านเก็บเกี่ยวเสร็จสิ้นแล้ว แต่พระดำริดังกล่าวยังมิทันสัมฤทธิ์ผลพระองค์ทรงสิ้นพระชนม์เสียก่อน เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514

ต่อมาปี พ.ศ. 2516 พระเถรานุเถระผู้มีบทบาทในการจัดการศึกษาของคณะสงฆ์หลายรูปเช่น

1. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ฯ วัดบวรนิเวศวิหาร

2. สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจาโร) วัดมกุฏกษัตริยาราม

3. สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกโร) วัดเทพศิรินทราวาส

4. พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตฺติสาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร

5. พระธรรมปาโมกข์ (สุวรรณ กญฺจโน) วัดมกุฏกษัตริยาราม

6. พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยังค์ สิรินฺธโร) วัดธรรมมงคล

7. พระเทพปัญญากวี (บรรจง กลฺลิโต) วัดมกุฏกษัตริยาราม

ได้ร่วมกันก่อตั้งสถาบันสงฆ์แห่งนี้ขึ้น เริ่มแรกใช้ชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย เป็นที่รู้จักกันของประชาชนโดยทั่วไปว่า “ วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย ” ในปี พ.ศ. 2519 ได้ขอตั้งเป็นวัดชื่อ “วัดชูจิตธรรมาราม” เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศ์สกุล ชูจิตารมย์ ผู้ถวายที่ดินเพื่อการก่อตั้งครั้งแรก (ปี พ.ศ. 2521 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา) ต่อมาเมื่อวันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2520 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณ พระราชทานพระนามาภิไธยในสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช ฯ สยามมกุฏราชกุมาร ว่า “มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย” และทรงพระราชทานพระนามาภิไธยย่อว่า “ ม.ว.ก.” ภายใต้เสมาธรรมจักร พร้อมทั้งพระราชทานสุภาษิตว่า “วชิรูปมจิตฺโต สิยา” (พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร) ให้เป็นตราประจำสถาบัน

 monument mvk

 ด้านการศึกษา

มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เป็นห้องเรียนหนึ่งของโรงเรียนวชิรมกุฏ กรุงเทพมหานคร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2516 และปี พ.ศ.2533 และได้รับอนุญาตให้จัดตั้งเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษาชื่อว่าโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เมื่อวันที่ 5 สิงหาคม พ.ศ. 2534 โดยมี เจ้าประคุณสมเด็จพระญาณวโรดม เป็นผู้เสนอขออนุญาตจัดตั้งโรงเรียน ท่านเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโร) ผู้รับใบอนุญาตเป็นผู้จัดการโรงเรียน และมีพระเดชพระคุณพระกิตติสารมุนี เป็นผู้อำนวยการ

ปัจจุบัน มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยตั้งอยู่ในบริเวณวัดชูจิตธรรมาราม (พระอารามหลวง) ตั้งอยู่เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา ถนนพหลโยธิน ระหว่างหลักกิโลเมตรที่ 73–74 สายกรุงเทพมหานคร–สระบุรี

ขอขอบคุณข้อมูล:(https://th.wikipedia.org) (www.dhammajak.net)