ประวัติบูรพาจารย์

สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวฑฺฒโน)

สมเด็จพระญาณสังวร พระนามเดิม เจริญ คชวัตร ฉายา สุวฑฺฒโน (3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 – 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556) เป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกพระองค์ที่ 19 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดบวรนิเวศราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อ พ.ศ. 2532 ในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ถือเป็นสมเด็จพระสังฆราชที่มีพระชันษามากกว่าสมเด็จพระสังฆราชทุกพระองค์ในอดีตและเป็นพระองค์แรกของไทยที่มีพระชันษา 100 ปี สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต

01 jarern 

 ขณะทรงพระเยาว์

สมเด็จพระญาณสังวร มีพระนามเดิมว่า เจริญ คชวัตร ประสูติเมื่อวันที่ 3 ตุลาคม พ.ศ. 2456 ที่จังหวัดกาญจนบุรี เป็นบุตรคนโตของพระชนกน้อย คชวัตร และพระชนนีกิมน้อย คชวัตร พระองค์มีน้องชาย 2 คน ได้แก่ นายจำเนียร คชวัตร และนายสมุทร คชวัตร บิดาของพระองค์ป่วยเป็นโรคเนื้องอกและเสียชีวิตไปตั้งแต่พระองค์ยังเล็ก หลังจากนั้น พระองค์ได้มาอยู่ในความดูแลของนางกิมเฮ้ง หรือกิมเฮงซึ่งเป็นพี่สาวของนางกิมน้อยที่ได้ขอพระองค์มาเลี้ยงดู และนางกิมเฮ้งจึงตั้งชื่อหลานชายผู้นี้ว่า "เจริญ"
พระชนกน้อย คชวัตร เป็นบุตรคนที่สามจากทั้งหมดสี่คนของเล็ก กับแดงอิ่ม คชวัตร เป็นหลานปู่-หลานย่าของหลวงพิพิธภักดี ผู้เคยเป็นข้าราชการชาวกรุงเก่า กับนางจีนผู้ภริยาหลวงพิพิธภักดีเป็นหลานยายของท้าวเทพกระษัตรี ส่วนพระชนนีกิมน้อย หรือน้อย ซึ่งเคยเปลี่ยนชื่อเป็นแดงแก้วนั้น มีบิดาเป็นคนเชื้อสายจีนคือนายเฮงเล็ก แซ่ตั๊น กับมารดาเชื้อสายญวนชื่อนางทองคำ ครั้นนายเฮงเล็กถึงแก่กรรม นางทองคำจึงสมรสใหม่กับนายสุข รุ่งสว่าง มีบุตรด้วยกัน 4 คน
เมื่อพระชันษาได้ 8 ปี ทรงเข้าเรียนที่โรงเรียนประชาบาล วัดเทวสังฆาราม จนจบชั้นประถม 5 (เทียบเท่าชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 2 ในปัจจุบัน) เมื่อ พ.ศ. 2468 ในขณะที่มีพระชันษา 12 ปี หลังจากนั้น ทรงไม่รู้ว่าจะเรียนอะไรต่อและไม่รู้ว่าจะเรียนที่ไหน ทรงเล่าว่า "เมื่อเยาว์วัยมีพระอัธยาศัยค่อนข้างขลาด กลัวต่อคนแปลกหน้า และค่อนข้างจะเป็นคนติดป้าที่อยู่ ใกล้ชิดกันมาแต่ทรงพระเยาว์โดยไม่เคยแยกจากกันเลย" จึงทำให้พระองค์ไม่กล้าตัดสินพระทัยไปเรียนต่อที่อื่น

02 jarern

บรรพชาและอุปสมบท
เมื่อพระองค์ยังทรงพระเยาว์นั้นทรงเจ็บป่วยออดแอดอยู่เสมอ โดยมีอยู่คราวหนึ่งที่ทรงป่วยหนักจนญาติ ๆ ต่างพากันคิดว่าคงไม่รอดแล้วและได้บนไว้ว่า ถ้าหายป่วยจะให้บวชเพื่อแก้บน แต่เมื่อหายป่วยแล้ว พระองค์ก็ยังไม่ได้บวช จนกระทั่งเรียนจบชั้นประถม 5 แล้ว พระองค์จึงได้ทรงบรรพชาเป็นสามเณรเพื่อแก้บนในปี พ.ศ. 2469 ขณะมีพระชันษาได้ 14 ปี ที่วัดเทวสังฆาราม โดยมีพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) เจ้าอาวาสวัดเทวสังฆาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และพระครูนิวิฐสมาจาร (เหรียญ สุวณฺณโชติ) เจ้าอาวาสสวัดศรีอุปลาราม เป็นพระอาจารย์ให้สรณะและศีล
ภายหลังบรรพชาแล้วได้จำพรรษาอยู่ที่วัดเทวสังฆาราม 1 พรรษา และได้มาศึกษาพระธรรมวินัยที่วัดเสน่หา จังหวัดนครปฐม หลังจากนั้น พระเทพมงคลรังษี (ดี พุทธฺโชติ) พระอุปัชฌาย์ได้พาพระองค์ไปยังวัดบวรนิเวศราชวรวิหาร และนำพระองค์ขึ้นเฝ้าถวายตัวต่อสมเด็จพระวชิรญาณวงศ์ เจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร (ต่อมาคือสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์) เพื่ออยู่ศึกษาพระปริยัติธรรมในสำนักวัดบวรนิเวศวิหาร พระองค์ทรงได้รับประทานนามฉายาจากสมเด็จพระสังฆราชว่า “สุวฑฺฒโน” ซึ่งมีความหมายว่า “ผู้เจริญดี” จนกระทั่งพระชันษาครบอุปสมบทจึงทรงเดินทางกลับไปอุปสมบทที่วัดเทวสังฆารามเมื่อ พ.ศ. 2476 ภายหลังจึงได้เดินทางเข้ามาจำพรรษา ณ วัดบวรนิเวศวิหาร กรุงเทพมหานคร เพื่อทรงศึกษาพระธรรมวินัยและที่วัดบวรนิเวศวิหารนี่เอง พระองค์ท่านได้เข้าพิธีอุปสมบทซ้ำในธรรมยุติกนิกายเมื่อวันที่ 15 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2476 (นับแบบปัจจุบันตรงกับ พ.ศ. 2477) โดยมีสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระเทพเมธี (จู อิสฺสรญาโณ) เป็นพระกรรมวาจาจารย์

การศึกษาพระปริยัติธรรม
พระองค์ทรงเริ่มเรียนพระปริยัติธรรมตามคำชักชวนของพระเทพมงคลรังษี (ดี พุทฺธโชติ) พระอุปัชฌาย์ ที่ตั้งใจจะให้พระองค์กลับมาสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามและจะสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรมเตรียมไว้ให้ โดยพระอุปัชฌาย์นำพระองค์ไปฝากไว้กับพระครูสังวรวินัย (อาจ) เจ้าอาวาสวัดเสน่หา เมื่อวันที่ 20 มิถุนายน พ.ศ. 2470 แล้วจึงเริ่มเรียนภาษาบาลีโดยมีพระเปรียญจากวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร กรุงเทพมหานคร เป็นอาจารย์สอน หลังจากนั้น จึงเดินทางมายังกรุงเทพมหานครเพื่อศึกษาพระปริยัติธรรมที่วัดบวรนิเวศวิหาร[6] พระองค์ทรงสอบได้นักธรรมชั้นตรีได้เมื่อ พ.ศ. 2472 และทรงสอบได้นักธรรมชั้นโทและเปรียญธรรม 3 ประโยค ในปี พ.ศ. 2473
พระองค์ทรงตั้งพระทัยอย่างมากในการสอบเปรียญธรรม 4 ประโยค แต่ผลปรากฏว่าทรงสอบตก ทำให้ทรงรู้สึกท้อแท้และคิดว่า "คงจะหมดวาสนาในทางพระศาสนาเสียแล้ว" แต่เมื่อทรงคิดทบทวนและไตร่ตรองดูว่าทำไมจึงสอบตก ก็ทรงตระหนักได้ว่าเหตุแห่งการสอบตกนั้นเกิดจากความประมาทโดยแท้ กล่าวคือ ทรงทำข้อสอบโดยไม่พิจารณาให้รอบคอบด้วยสำคัญผิดว่าตนรู้ดีแล้ว ทั้งยังมุ่งอ่านเฉพาะเนื้อหาที่เก็งว่าจะออกเป็นข้อสอบเท่านั้น ซึ่งพระองค์ทรงพบว่าเป็นวิธีการเรียนที่ไม่ถูกต้องเพราะไม่ทำให้เกิดความรู้อย่างแท้จริง จึงเป็นสาเหตุที่ทำให้พระองค์สอบตก เมื่อพระองค์ทรงตระหนักได้ดังนี้แล้วจึงทรงเปลี่ยนมาใช้วิธีเรียนแบบสม่ำเสมอและทั่วถึง พระองค์จึงสอบได้ทั้งนักธรรมชั้นเอกและเปรียญธรรม 4 ประโยค ในปี พ.ศ. 2475

03 jarern

04 jarern

หลังจากนั้น พระองค์ทรงกลับไปสอนพระปริยัติธรรมที่โรงเรียนเทวานุกูล วัดเทวสังฆาราม เพื่อสนองพระคุณพระเทพมงคลรังษีเป็นเวลา 1 พรรษา แล้วจึงทรงกลับมาอยู่วัดบวรนิเวศวิหารเพื่อทรงศึกษาพระปริยัติธรรมต่อไป โดยทรงสอบได้เปรียญธรรม 5 ประโยค โดยในระหว่างที่ทรงอยู่วัดบวรนิเวศวิหารนั้น พระองค์ก็ยังคงกลับไปช่วยสอนพระปริยัติธรรมที่วัดเทวสังฆารามอยู่เสมอ พระองค์ยังทรงศึกษาพระปริยัติธรรมอย่างต่อเนื่อง จนกระทั่ง สอบได้เปรียญธรรม 9 ในปี พ.ศ. 2484

05 jarern

การปฏิบัติหน้าที่ด้านคณะสงฆ์
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงฉายภาพหมู่ร่วมกับคณะพระภิกษุสงฆ์วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อคราวผนวชหลังจากที่พระองค์สอบได้เปรียญธรรม 9 แล้ว พระองค์ทรงเริ่มงานอันเกี่ยวเนื่องกับคณะสงฆ์อีกมากมาย ซึ่งนอกเหนือจากเป็นครูสอนพระปริยัติธรรมแล้ว พระองค์ยังเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหารซึ่งมีหน้าที่จัดการศึกษาของภิกษุสามเณรทั้งแผนกธรรมและแผนกบาลี รวมทั้งทรงเป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่งในฐานะเป็นพระเปรียญ 9 ประโยค ต่อมา เมื่อมีการจัดตั้งมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัยขึ้นอีกครั้งในปี พ.ศ. 2488 พระองค์ทรงรับหน้าที่เป็นกรรมการสภาการศึกษาและอาจารย์ของมหาวิทยาลัย รวมทั้ง เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์และรักษาการพระวินัยธรชั้นฎีกาในกาลต่อมา นอกจากนี้ ยังทรงเป็นเลขานุการในสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์อีกด้วย

06 jarern

เมื่อมีพระชันษาได้ 34 ปี พระองค์ได้รับพระราชทานสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นสามัญ ที่ พระโศภนคณาภรณ์ โดยพระองค์ได้รับเลือกจากสมเด็จพระสังฆราชเจ้า กรมหลวงวชิรญาณวงศ์ให้เป็นพระอภิบาลของพระภิกษุพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชในระหว่างที่ผนวชเป็นพระภิกษุและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499 ต่อมา ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ ชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ โดยราชทินนามทั้ง 2 ข้างต้นนั้นเป็นราชทินนามที่ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานแก่พระองค์เป็นรูปแรก
ในปี พ.ศ. 2504 พระองค์ได้รับตำแหน่งเป็นผู้รักษาการเจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาคและเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารราชวรวิหาร ในปีเดียวกันนี้เองพระองค์ได้รับการสถาปนาที่ พระสาสนโสภณ[9] พระองค์เข้ารับตำแหน่งกรรมการมหาเถรสมาคมตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506 และยังคงดำรงตำแหน่งมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนั้น ยังได้ทรงนิพนธ์ผลงานทางวิชาการ เอกสาร และตำราด้านพุทธศาสนาไว้มากมาย

สมเด็จพระสังฆราช
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงสถาปนา สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก พ.ศ. 2515 พระองค์ได้รับพระราชทานสถาปนาเป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระญาณสังวร ซึ่งเป็นราชทินนามที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดให้ตั้งขึ้นใหม่สำหรับพระราชทานสถาปนาสมเด็จพระอริยวงษญาณ สมเด็จพระสังฆราช (สุก ญาณสังวร) พระราชาคณะฝ่ายวิปัสสนาธุระเป็นครั้งแรก เมื่อ พ.ศ. 2359 ตำแหน่งสมเด็จพระราชาคณะที่สมเด็จพระญาณสังวร จึงเป็นตำแหน่งพิเศษที่โปรดพระราชทานสถาปนาแก่พระเถระผู้ทรงคุณทางวิปัสสนาธุระเท่านั้น
เมื่อสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (วาสน์ วาสโน) สิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2531 ทำให้ตำแหน่งสมเด็จพระสังฆราชว่างลง พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าฯ สถาปนาพระองค์ขึ้นเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในราชทินนามเดิม คือ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ซึ่งราชทินนามดังกล่าวนับเป็นราชทินนามพิเศษ กล่าวคือ สมเด็จพระสังฆราชที่มิได้เป็นพระบรมวงศานุวงศ์นั้น โดยปกติจะใช้ราชทินนามว่า สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ บางพระองค์ ครั้งนี้จึงนับเป็นอีกหนึ่งครั้งมีการใช้ราชทินนาม สมเด็จพระญาณสังวร สำหรับสมเด็จพระสังฆราชเพื่อเป็นพระเกียรติคุณทางวิปัสสนาธุระของพระองค์ (ในพระนามใช้ราชทินนาม สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ)

ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช
ในช่วงที่สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช มีศาสนกิจที่จะต้องเสด็จไปต่างประเทศ พระองค์จะมีพระบัญชาแต่งตั้งผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช โดยเมื่อครั้งพระองค์เสด็จประเทศจีนอย่างเป็นทางการ ตามคำกราบทูลอาราธนาของทบวงศาสนกิจ ประเทศจีน และเสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศเนปาล พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้งให้ สมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ฟื้น ชุตินฺธโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช นอกจากนี้ เมื่อครั้งที่พระองค์เสด็จปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศญี่ปุ่นและประเทศอินเดีย พระองค์มีพระบัญชาแต่งตั้ง สมเด็จพระพุทธปาพจนบดี (ทองเจือ จินฺตากโร) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราชนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี (ขณะนั้น) ถวายเครื่องสักการะสมเด็จพระญาณสังวรฯ เนื่องในเทศกาลเข้าพรรษาประจำปี 2553 ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ชั้น 6 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ กรุงเทพฯ เมื่อวันพฤหัสบดีที่ 29 กรกฎาคม พ.ศ. 2553 ช่วงปี พ.ศ. 2547 หลังจากที่ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ประชวร และประทับรักษาพระองค์ ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าร่วมงานพระศาสนาไม่สะดวก มหาเถรสมาคม ซึ่งเป็นองค์กรปกครองคณะสงฆ์ ได้แต่งตั้งให้สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) เป็นผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช ซึ่งสมเด็จพระสังฆราชได้มีพระบัญชาว่า “ทราบและเห็นชอบ” เมื่อวันที่ 26 มกราคม พ.ศ. 2547 ต่อมา การแต่งตั้งนั้นได้สิ้นสุดลงเพราะครบระยะเวลาที่กำหนด มหาเถรสมาคมจึงได้แต่งตั้ง คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เพื่อบริหารกิจการคณะสงฆ์แทนสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โดยประกอบด้วยพระราชาคณะ รวม 7 รูป จากพระอาราม 7 วัด โดยมีสมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ในฐานะมีอาวุโสสูงสุดโดยสมณศักดิ์ทำหน้าที่ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช

สิ้นพระชนม์
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก สิ้นพระชนม์เมื่อวันที่ 24 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 19:30 นาฬิกา ณ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เนื่องจากติดเชื้อในกระแสพระโลหิต มีการเคลื่อนพระศพจากโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์มายังตำหนักเพชร วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อวันศุกร์ที่ 25 ตุลาคม พ.ศ. 2556 เวลา 12:15 นาฬิกา ในการนี้ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามมกุฎราชกุมาร เสด็จพระราชดำเนินแทนพระองค์ไปทรงสรงน้ำพระศพในวันเดียวกัน เวลา 17:00 น. ทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศกุดั่นใหญ่ทรงพระศพแทนพระโกศกุดั่นน้อย ประดิษฐานภายใต้เศวตฉัตรสามชั้น แวดล้อมด้วยเครื่องประกอบพระเกียรติยศ ณ ตำหนักเพ็ชร วัดบวรนิเวศวิหาร และให้มีพิธีสวดพระอภิธรรมพระศพเจ็ดวัน
การนี้พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชได้พระราชทานเลื่อนชั้นยศพระโกศจากพระโกศกุดั่นน้อยเป็นพระโกศกุดั่นใหญ่ตั้งแต่วันแรกที่สิ้นพระชนม์ ครั้นถึงวาระพระราชทานเพลิงพระศพ พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชจึงทรงพระกรุณาโปรดถวายพระโกศทองน้อยทรงพระศพและให้เจ้าพนักงานจัดฉัตรตาดเหลือง 5 ชั้นกางกั้นพระโกศ ในพระราชพิธีพระราชทานเพลิงพระศพระหว่างวันที่ 15-17 ธันวาคม พ.ศ. 2558 ซึ่งถือเป็นกรณีพิเศษเพราะยังไม่เคยปรากฏการพระราชทานเลื่อนพระโกศถึงสองครั้งมาก่อน
สำหรับพระอัฐิของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ได้แบ่งออกเป็น 3 ส่วน ส่วนแรกประดิษฐาน ณ พระตำหนักเดิม ซึ่งเป็นสถานที่เก็บพระอัฐิของเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหารทุกรูป ส่วนที่สองประดิษฐานที่วัดเทวสังฆาราม จังหวัดกาญจนบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์ทรงผนวชและส่วนที่สามประดิษฐานที่วัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี ซึ่งเป็นวัดที่พระองค์สร้างขึ้น ส่วนพระสรีรางคารประดิษฐานที่พระวิหารเก๋ง วัดบวรนิเวศวิหาร

พระกรณียกิจ
พระกรณียกิจของพระองค์ตลอดห้วงระยะเวลาที่ผ่านมามีอยู่เป็นอเนกอนันต์ พอจะสรุปได้ดังนี้

ด้านการพระศาสนาในต่างประเทศ
พระองค์ได้เป็นกำลังสำคัญในการดำเนินการมาโดยลำดับ ดังนี้
พ.ศ. 2509 ในฐานะประธานกรรมการอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตในต่างประเทศ ได้เสด็จไปเป็นประธานสงฆ์ ในพิธีเปิดวัดพุทธประทีป ณ กรุงลอนดอน ประเทศอังกฤษ และดูกิจการพระธรรมทูตในประเทศอังกฤษและอิตาลี
พ.ศ. 2511 เสด็จไปดูการพระศาสนา วัฒนธรรม และการศึกษาในประเทศอินโดนีเซีย ออสเตรเลีย และฟิลิปปินส์ อันเป็นผลให้ต่อมาได้มีการวางแผนร่วมกับชาวพุทธอินโดนีเซีย ในอันที่จะฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในประเทศนั้น และได้ส่งพระธรรมทูตชุดแรกไปยังอินโดนีเซีย เมื่อปี พ.ศ. 2512 ได้ส่งพระภิกษุจากวัดบวรนิเวศ ออกไปปฏิบัติศาสนกิจที่ประเทศออสเตรเลีย เมื่อปี พ.ศ. 2516, และตั้งสำนักสงฆ์ในปี พ.ศ. 2518
พ.ศ. 2514 เสด็จไปดูการพระศาสนา และการศึกษาในประเทศเนปาล และอินเดีย ปากีสถาน ตะวันออก (บังคลาเทศ) ทำให้เกิดงานฟื้นฟูพระพุทธศาสนาในเนปาล ในขั้นแรก ได้ให้ทุนภิกษุ สามเณรเนปาลมาศึกษาพระพุทธศาสนาในไทย ที่วัดบวรนิเวศฯ
พ.ศ. 2520 เสด็จไปบรรพชาชาวอินโดนีเซีย จำนวน 43 คน ที่เมืองสมารัง ตามคำอาราธนาของคณะสงฆ์เถรวาทอินโดนีเซีย
พ.ศ. 2528 ทรงเป็นประธานคณะสงฆ์ ไปประกอบพิธีผูกพัทธสีมาอุโบสถ วัดจาการ์ต้าธรรมจักรชัย ณ ประเทศอินโดนีเซีย นับเป็นการผูกพันธสีมาอุโบสถวัดพระพุทธศาสนาเถรวาท เป็นครั้งแรกของประเทศอินโดนีเซีย และในปีเดียวกันนี้ ได้เสด็จไปเป็นประธานบรรพชากุลบุตรศากย แห่งเนปาล จำนวน 73 คน ณ กรุงกาฐมาณฑุ ประเทศเนปาล
พ.ศ. 2536 เสด็จไปเจริญศาสนาสัมพันธ์ระหว่างไทย-จีน เป็นครั้งแรก ที่ประเทศจีน ตามคำกราบทูลอาราธนาของรัฐบาลจีน
พ.ศ. 2538 เสด็จไปเป็นประธาน วางศิลาฤกษ์วัดไทย ณ ลุมพินี ประเทศเนปาล ซึ่งรัฐบาลไทยจัดสร้างถวายเป็นพุทธบูชา และเพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช เนื่องในวโรกาสทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี
นอกจากนี้ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ยังทรงกรุณาเสด็จไปเป็นองค์พระอุปัชฌาย์ บรรพชาสามเณรจากมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา ณ พระวิหารใหญ่วัดมกุฏกษัตริยาราม กรุงเทพมหานคร เป็นเวลาหลายปีติดต่อกัน.

ด้านสาธารณูปการ
ได้ทรงบูรณะซ่อมสร้างเสนาสนะ และถาวรวัตถุอันเป็นสาธารณประโยชน์เป็นจำนวนมาก กล่าวคือ
ปูชนียสถาน
ได้แก่ มณฑปประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พระเจดีย์ วัดบวรนิเวศวิหาร พระบรมธาตุ เจดีย์ศรีนครินทรมหาสันติคีรี ดอยแม่สลอง
พระอาราม ได้แก่ วัดสันติคีรี ดอยแม่สลอง จังหวัดเชียงราย วัดรัชดาภิเศก อำเภอบ่อพลอย จังหวัดกาญจนบุรี วัดล้านนาสังวราราม อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ วัดพุมุด อำเภอไทรโยค กาญจนบุรี วัดญาณสังวราราม อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี นอกจากนั้นยังทรงอุปถัมภ์วัดไทยในต่างประเทศอีกหลายแห่งคือ วัดพุทธรังสี นครซิดนีย์ ออสเตรเลีย วัดจาการ์ตาธรรมจักรชัย กรุงจาการ์ตา ประเทศอินโดนีเซีย วัดนครมณฑปศรีกีรติวิหาร เมืองกิรติปูร เนปาล

โรงเรียน
ได้แก่ โรงเรียนสมเด็จพระญาณสังวร ยโสธร โรงเรียนสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต กาญจนบุรี

โรงพยาบาล
ได้แก่ การสร้างตึกวชิรญาณวงศ์ ตึกวชิรญาณสามัคคีพยาบาร และตึก ภปร. โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์, โรงพยาบาลสมเด็จพระปิยมหาราชรมณียเขต จังหวัดกาญจนบุรี, โรงพยาบาลวัดญาณสังวราราม จังหวัดชลบุรี และโรงพยาบาลสกลมหาสังฆปรินายก เพื่อถวายเป็นอนุสรณ์ แด่สมเด็จพระสังฆราชแห่งกรุงรัตนโกสินทร์ทุกพระองค์ รวม 19 แห่ง ได้เริ่มก่อสร้างไปแล้วหลายแห่ง

พระภารกิจ
สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก
พ.ศ. 2484 เป็นสมาชิกสังฆสภาโดยตำแหน่ง เป็นกรรมการสังคายนาพระธรรมวินัย และเป็นผู้อำนวยการศึกษาสำนักเรียนวัดบวรนิเวศวิหาร
พ.ศ. 2489 เป็นพระวินัยธรชั้นอุทธรณ์ และเป็นกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2493 เป็นกรรมการเถรสมาคม คณะธรรมยุต ประเภทชั่วคราว
พ.ศ. 2494 เป็นกรรมการอำนวยการมหามงกุฎราชวิทยาลัย และเป็นกรรมการแผนกตำราของมหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2496 เป็นกรรมการตรวจชำระ คัมภีร์ฎีกา
พ.ศ. 2497 เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุตประเภทถาวร
พ.ศ. 2499 เป็นพระอภิบาล (พระพี่เลี้ยง) ในพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดชซึ่งทรงพระผนวชและเสด็จประทับ ณ วัดบวรนิเวศวิหาร ได้เลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่พระธรรมวราภรณ์ และรักษาการวินัยธรชั้นฎีกา
พ.ศ. 2501 เป็นกรรมการคณะธรรมยุติ และเป็นกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการพระศาสนา และมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
พ.ศ. 2503 เป็นสังฆมนตรีช่วยว่าการองค์การปกครอง สั่งการองค์การปกครองฝ่ายธรรมยุต
พ.ศ. 2504 เป็นเจ้าอาวาสวัดบวรนิเวศวิหาร เป็นผู้อำนวยการมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นผู้รักษาการณ์เจ้าคณะธรรมยุตภาคทุกภาค และเป็นพระอุปัชฌาย์
พ.ศ. 2506 เป็นกรรมการเถรสมาคม ซึ่งเป็นกรรมการชุดแรก ตาม พ.ร.บ. คณะสงฆ์ พ.ศ. 2505
พ.ศ. 2515 เป็นเจ้าคณะกรุงเทพมหานคร และสมุทรปราการ
พ.ศ. 2517 เป็นประธานกรรมการคณะธรรมยุต
พ.ศ. 2521 เป็นพระกรรมวาจาจารย์ ในพระราชพิธีทรงผนวช พันตรี สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิราลงกรณ สยามมกุฎราชกุมาร ณ พระอุโบสถวัดพระศรีรัตนศาสดาราม
พ.ศ. 2528 เป็นรองประธานกรรมการสังคีติการสงฆ์ ในการสังคายนาพระธรรมวินัย ตรวจชำระพระไตรปิฎก และเป็นสังฆปาโมกข์ปาลิวิโสธกะพระวินัยปิฎก เนื่องในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษา 5 รอบ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว
พ.ศ. 2531 รักษาการเจ้าคณะใหญ่ธรรมยุต เป็นนายกกรรมการมหามกุฏราชวิทยาลัย และเป็นนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย

พระนิพนธ์
ทรงนิพนธ์เรื่องต่าง ๆ ไว้เป็นอันมาก ทั้งที่เป็นตำรา พระธรรมเทศนา และทั่วไป พอประมวลได้ดังนี้

ประเภทตำรา
ทรงเรียบเรียงวากยสัมพันธ์ ภาค 1-2 สำหรับใช้เป็นหนังสือประกอบ การศึกษาของนักเรียนบาลี และทรงอำนวยการจัดทำ ปทานุกรม บาลี ไทย อังกฤษ สันสกฤต ฉบับพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระจันทรบุรีนฤนาถ

ประเภทพระธรรมเทศนา
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เท่าที่พิมพ์เป็นเล่มแล้วเช่น ปัญจคุณ 5 กัณฑ์, ทศพลญาณ 10 กัณฑ์, มงคลเทศนา, โอวาทปาฏิโมกข์ 3 กัณฑ์, สังฆคุณ 9 กัณฑ์ เป็นต้น

ประเภทงานแปลเป็นภาษาต่างประเทศ
ทรงริเริ่มและดำเนินการให้แปลตำราทางพุทธศาสนา จากภาษาไทยเป็นภาษาอังกฤษ เพื่อใช้ในการศึกษาพระพุทธศาสนา เช่น นวโกวาท, วินัยมุข, พุทธประวัติ, ภิกขุปาติโมกข์, อุปสมบทวิธี, และทำวัตรสวดมนต์ เป็นต้น

ประเภททั่วไป
มีอยู่เป็นจำนวนมาก เช่น การนับถือพระพุทธศาสนา, หลักพระพุทธศาสนา, พระพุทธเจ้าของเรานั้นท่านล้ำเลิศ, 45 พรรษาพระพุทธเจ้า, พระพุทธเจ้าสั่งสอนอะไร (ไทย-อังกฤษ), วิธีปฏิบัติตนให้ถูกต้องทางธรรมะ, พระพุทธศาสนากับสังคมไทย, เรื่องกรรม ศีล (ไทย-อังกฤษ), แนวปฏิบัติในสติปัฎฐาน, อาหุเณยโย, อวิชชา, สันโดษ, หลักธรรมสำหรับการปฏิบัติอบรมจิต, การบริหารจิตสำหรับผู้ใหญ่, บัณฑิตกับโลกธรรม, แนวความเชื่อ, บวชดี, บุพการี-กตัญญูกตเวที, คำกลอนนิราศสังขาร, และตำนานวัดบวรนิเวศ เป็นต้น

พระเกียรติยศ

ลำดับสมณศักดิ์
พ.ศ. 2490 พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโศภณคณาภรณ์
พ.ศ. 2495 พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2498 พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2499 พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกคุณวิภูสิต ธรรมวิทิตคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2504 รองสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณสุนทร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ อุดมศีลจารวัตรสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
21 เมษายน พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช

 07 jarern

 

ตราประจำพระองค์
การทูล ใต้ฝ่าพระบาท
การแทนตน เกล้ากระหม่อม/เกล้ากระหม่อมฉัน
การขานรับ เกล้ากระหม่อม
พะย่ะค่ะ/เพคะ

 08 jarern

ตราสัญลักษณ์งานเฉลิมพระเกียรติ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในโอกาสฉลองพระชันษา 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก 3 ตุลาคม 2556

พ.ศ. 2490 พระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโศภณคณาภรณ์
พ.ศ. 2495 พระราชาคณะชั้นราช ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2498 พระราชาคณะชั้นเทพ ในราชทินนามเดิม
พ.ศ. 2499 พระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมวราภรณ์ บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกคุณวิภูสิต ธรรมวิทิตคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2504 รองสมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในหิรัญบัฏว่า พระสาสนโสภณ วิมลญาณสุนทร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกธรรมาลังการวิภูสิต ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2515 สมเด็จพระราชาคณะ มีราชทินนามตามจารึกในสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติสาธก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา สัปตวิสุทธิจริยาสมบัติ อุดมศีลจารวัตรสุนทร ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัณยวาสี
21 เมษายน พ.ศ. 2532 ทรงได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก มีพระนามตามจารึกในพระสุพรรณบัฏว่า สมเด็จพระญาณสังวร บรมนริศรธรรมนีติภิบาล อริยวงศาคตญาณวิมล สกลมหาสังฆปริณายก ตรีปิฎกปริยัตติธาดา วิสุทธจริยาธิสมบัติ สุวัฑฒนภิธานสงฆวิสุต ปาวจนุตตมพิสาร สุขุมธรรมวิธานธำรง วชิรญาณวงศวิวัฒ พุทธบริษัทคารวสถาน วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลสีลาจารวัตรสุนทร บวรธรรมบพิตร สรรพคณิศรมหาปธานาธิบดี คามวาสี อรัณยวาสี สมเด็จพระสังฆราช

ตำแหน่งที่ได้รับการถวาย
ผู้นำคณะสงฆ์สูงสุดแห่งโลกพระพุทธศาสนา (Supreme Holiness of World Buddhism) อันเป็นตำแหน่งที่ได้รับการทูลถวายจากผู้นำชาวพุทธโลกจาก 32 ประเทศเข้าร่วมประชุมสุดยอดพุทธศาสนิกชนแห่งโลก ณ ประเทศญี่ปุ่น เมื่อ พ.ศ. 2555 ในฐานะที่ทรงได้รับการเคารพอย่างสูงสุด รวมทั้งเป็นสมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายกแห่งประเทศไทย ผู้สอนพระธรรมคำสั่งสอนของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าให้ทุกคนปฏิบัติธรรมตั้งอยู่ในพระปัญญาธรรมและพระกรุณาธรรมนำ ไปสู่สันติภาพและความเจริญรุ่งเรืองมีพระบารมีปกแผ่ไพศาลไปทั่วราชอาณาจักรไทยและทั่วโลก นับเป็นแบบอย่างของสากลโลก ซึ่งเป็นการมอบตำแหน่งนี้เป็นครั้งแรกของโลก

ปริญญากิตติมศักดิ์
พระองค์ได้รับการถวายปริญญากิตติมศักดิ์จากสถาบันการศึกษา ดังต่อไปนี้
พ.ศ. 2529: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยรามคำแหง
พ.ศ. 2532: อักษรศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหิดล
พ.ศ. 2533: พุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2537: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์
พ.ศ. 2538: การศึกษาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยนเรศวร
พ.ศ. 2539: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จากมหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
พ.ศ. 2540: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาภาษาไทย จากมหาวิทยาลัยขอนแก่น
พ.ศ. 2543: ศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาปรัชญาและศาสนา จากมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์
พ.ศ. 2545: ปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาไทศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
พ.ศ. 2547: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏกาญจนบุรี
พ.ศ. 2548: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏมหาสารคาม
พ.ศ. 2554: ครุศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาการบริหารการศึกษา จากมหาวิทยาลัยราชภัฏภูเก็ต[39]
พ.ศ. 2556: ศาสนศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพุทธศาสน์ศึกษา จากมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

สถานที่เนื่องด้วยพระนาม
โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 (เจริญ สุวฑฺฒโน) จังหวัดกาญจนบุรี อำเภอท่าม่วง จังหวัดกาญจนบุรี
โรงพยาบาลญาณสังวร เชียงราย
โรงพยาบาลญาณสังวร ชลบุรี
ตึก 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก โรงพยาบาลพหลพลพยุหเสนา จังหวัดกาญจนบุรี
อาคารเทิดพระเกียรติสมเด็จพระญาณสังวร (เจริญ สุวฑฺฒโน) สภากาชาดไทย
วัดญาณสังวรารามวรมหาวิหาร อำเภอบางละมุง จังหวัดชลบุรี
อาคารสมเด็จพระญาณสังวร โรงพยาบาลสมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 (เจริญ สุวฑฺฒโน) จังหวัดกาญจนบุรี
งานฉลองพระชันษา 96 ปี (8 รอบ)
3 ตุลาคม 2552 สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปรินายก ทรงเจริญพระชันษาครบ 96 ปี รัฐบาลจัดให้มีการบำเพ็ญกุศล และงานฉลองเนื่องในโอกาสมงคลนี้

งานฉลองพระชันษา 100 ปี 3 ตุลาคม 2556
งานแสดงมุทิตาจิต ฉลองพระชันษา 100 ปี สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ในวันพฤหัสบดีที่ 3 ตุลาคม 2556 ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
เวลา 08.00 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช เสด็จฯ ออกทรงรับบาตรจากศิษยานุศิษย์ และ ประชาชนทั่วไป
เวลา 09.00 น. ศิลปิน ดารา นักร้อง ที่จะมาร่วมรณรงค์รับบริจาคเงิน เพื่อโดยเสด็จพระกุศล สมเด็จพระสังฆราชให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ เข้าเฝ้าฯ ถวายพระพรและรับประทานเกียรติบัตร และออกรณรงค์รับบริจาคตามคลินิกผู้ป่วยนอก / หอผู้ป่วยพิเศษ / สำนักงาน
เวลา 11.00 น. ถวายภัตตาหารเพล ณ ตึกวชิรญาณ สามัคคีพยาบาร ชั้น 5
เวลา 13.00 น. การบรรยายพิเศษ “ใส่บาตรอย่างไร ได้บุญ ไกลโรค” ณ ห้องประชุมเฉลิม พรมมาส ตึก อปร.
เวลา 13.30 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงรับน้ำสรงพระราชทาน จากพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ และบรมวงศานุวงศ์ทุก พระองค์ เนื่องในงานฉลองพระชันษา 100 ปี
เวลา 15.00 น. สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ เป็นองค์ประธานทอดผ้าป่าสามัคคี 84,000 กอง
เวลา 15.30 - 16.45 น. สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช โปรดฯ ให้ศิษยานุศิษย์และประชาชนทั่วไปเข้าเฝ้าฯ ถวายพระพร
เวลา 17.00 น. พิธีเจริญพระพุทธมนต์แสดงมุทิตาจิตฉลองสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก เนื่องในงานฉลองพระชันษา 100 ปี
เวลา 18.00 น. พิธีลาบวชเนกขัมมบารมี 101 คน

ขอบคุณข้อมูล:
https://th.wikipedia.org/wiki
https://www.facebook.com/mvkmember.mahavajiralongkorn

ประวัติพระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินฺธโร)

01 viriyang

พระธรรมมงคลญาณ (หลวงพ่อวิริยังค์ สิรินธโร) (7 มกราคม 2463 - ปัจจุบัน) เป็นพระภิกษุฝ่ายธรรมยุติกนิกาย มีตำแหน่งเป็นพระราชาคณะชั้นธรรม และเจ้าอาวาสวัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท 101 เขตพระโขนง กรุงเทพฯ ปัจจุบันอายุ 99 ปี พรรษา 77

02 viriyang

ชาติกำเนิด

พระธรรมมงคลญาณ เดิมชื่อ วิริยังค์ บุญฑีย์กุล เป็นบุตรขุนเพ็ญภาษชนารมย์ กับนางมั่น บุญฑีย์กุล (อุบาสิกามั่น ถึงแก่กรรม พ.ศ. 2520) เกิดเมื่อวันศุกร์ที่ 7 มกราคม 2463 ปีวอก แรม 13 ค่ำ เดือนอ้าย ณ สถานีรถไฟปากเพรียว จังหวัดสระบุรี ต่อมาย้ายมาตั้งหลักฐานที่บ้านใหม่สำโรง อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา มีพี่น้อง 7 คน คือ 

  1. นางกิมลั้ง ชูเวช (บุญฑีย์กุล)03 viriyang
  2. นายฑีฆายุ บุญฑีย์กุล
  3. นายสุชิตัง บุญฑีย์กุล
  4. นายสัจจัง บุญฑีย์กุล
  5. พระธรรมมงคลญาณ (วิริยังค์ บุญฑีย์กุล)
  6. นายไชยมนู บุญฑีย์กุล
  7. นางสายมณี ศรีทองสุข (บุญฑีย์กุล)

 

 

 

 

พระพุทธมงคลธรรมศรีไทย (หลวงพ่อหยก)    

 ปฐมวัย-ก่อนบวช

วันหนึ่งขณะที่ท่าน มีอายุประมาณ 13 ปี เพื่อนผู้หญิงคนหนึ่ง ชวนให้ไปวัดเป็นเพื่อน ขณะที่รอเพื่อนไป ต่อมนต์(ท่องบทสวดมนต์) กับหลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ ท่านก็รออยู่ด้วยความเบื่อหน่ายเพราะไปตั้งแต่ 2 ทุ่มกลับเที่ยงคืน จะกลับบ้านเองก็ไม่ได้ เพราะเส้นทางเปลี่ยวและกลัวผี ได้แต่คิดอยู่ในใจว่า "ตั้งแต่นี้ต่อไปไม่มาอีกแล้ว ๆ ๆ " ไม่ช้าก็เกิดความสงบขึ้น ตัวหายไปเลย เบาไปหมด เห็นตัวเอง มี 2 ร่าง ร่างหนึ่งเดินลงศาลาไปยืนอยู่ที่ลานวัด มีลมชนิดหนึ่ง พัดหวิวเข้าสู่ใจ รู้สึกเย็นสบายเป็นสุขอย่างยิ่ง ถึงกับอุทานออกมาเองว่า "คุณของพระพุทธศาสนา มีถึงเพียงนี้เทียวหรือ" แล้วเดินกลับไปที่ร่าง กลับเข้าตัว พอดีเป็นเวลาเลิกต่อมนต์ จึงเล่าให้กับ พระอาจารย์กงมาฟัง พระอาจารย์ก็ว่า "เด็กนี่ เรายังไม่ได้สอนสมาธิให้เลยทำไม จึงเกิดเร็วนัก " ตั้งแต่นั้นมาก็จึงเรียนรู้เกี่ยวกับการทำสมาธิ
ต่อมาวันหนึ่งท่าน ทำงานหนักเกินตัวจึงล้มป่วยเป็นอัมพาต บิดาพยามหาหมอมารักษา แต่ก็รักษาไม่ได้ แพทย์แผนปัจจุบันบอกว่า หมดหวังในการรักษา ท่านได้แต่นอนอธิษฐานอยู่ในใจว่า " ถ้ามีผู้ใดมารักษาให้หาย จากอัมพาตได้ จะอุทิศตน เพื่อพระพุทธศาสนาทั้งสิ้น " ไม่นานก็ปรากฏว่ามีชีปะขาวตนหนึ่ง มาถามบิดาของท่านว่า "จะรักษาลูกให้เอาไหม" บิดาก็บอกว่า "เอา" ชีปะขาวก็เดินมาหาท่านซึ่งนอนอยู่ พร้อมทั้งกระซิบถามว่า อธิษฐานดังนั้นจริงไหม ท่านก็ตอบว่าจริง จึงให้พูดให้ได้ยินดัง ๆ หน่อย ท่านก็พูดให้ฟัง ชีปะขาวก็เอาไพรมา เคี้ยว ๆ แล้วก็ พ่นใส่ตัวของท่าน แล้วก็จากไป เช้าตรู่วันรุ่งขึ้น ปรากฏว่าท่านรู้สึกว่าจะ กระดิกตัวได้ ทดลองลุก ขึ้นเดินก็ทำได้เป็นที่อัศจรรย์ใจ 7 โมงเช้า ปรากฏว่าชีปะขาว มายืนหลับตาบิณฑบาตอยู่ ที่ประตูบ้าน ท่านจึงนำอาหารจะไปใส่บาตร ชีปะขาว กลับขอให้ท่านพูดถึงคำ อธิษฐานของท่านให้ฟัง เมื่อพูดแล้ว จึงยอมรับบาตร แล้วบอกให้ท่านไปหาที่ ใต้ต้นมะขาม วัดสว่างอารมณ์ เมื่อไปถึงชีปะขาวก็ให้พูดคำอธิษฐาน ให้ฟังอีก แล้วก็พาเดินไปหลังวัด คว้าเอา มีดอันหนึ่งออกไปตัดหางควาย มาชูให้ดู แล้วก็ต่อหางคืนไปใหม่ เหมือนไม่มีอะไรเกิดขึ้น พร้อมกับถาม ว่า "ลุงเก่งไหม" ท่านก็ตอบว่า "เก่ง" ลุงจะสอนคาถาให้ แต่ต้องท่องทุกวัน เป็นเวลา 10 ปีจึงใช้ได้ ท่านก็ได้เรียนคาถานั้น แล้วก็บอกว่าพรุ่งนี้ให้ เตรียมใส่บาตร วันรุ่งขึ้นปรากฏว่า ไม่พบ ตาชีปะขาวแล้ว ตั้งแต่นั้นมาท่านก็ไม่ เคยพบกับตาชีปะขาวอีกเลย

บรรพชา
เมื่ออายุประมาณ 15 ปี พ.ศ. 2477 ก็ได้บวชเป็นผ้าขาว บรรพชาเมื่อ 22 พฤษภาคม 2477 ณ วัดสุทธจินดาวรวิหาร ต.โพธิ์กลาง อ.เมือง จ.นครราชสีมา โดยพระธรรมฐิติญาณ (สังข์ทอง นาควโร) เป็นพระอุปัชฌาย์ หลังจากบรรพชาได้ 10 วัน ก็ตามพระอาจารย์กงมาออกธุดงค์ ตามป่าเขา ลำเนาไพร เพื่อแสวงหาที่วิเวก เมื่อพบที่สงบ ก็จะหยุดอยู่ทำความเพียร แม้บางครั้งอดอาหารกันอยู่หลายวัน บางครั้งเจอสัตว์ร้าย เจออันตราย หรือหนทางอันยาวไกล เช่นในบางวันเดินธุดงค์ข้ามเขาเกือบ 50 กิโลเมตร ก็ไม่ย่อท้อ โดยถือคติที่ว่ารักความเพียร รักธรรมะมากกว่าชีวิต ครั้งหนึ่งเมื่อออกจากดงพญาเย็น พบโจรกลุ่ม หนึ่งมีอาวุธครบมือมาล้อมไว้ พระอาจารย์กงมาได้เทศน์ สั่งสอนโจร มีอยู่ตอนหนึ่งเทศน์ว่า " พวกเธอเอ๋ย แม้พวกเธอจะมาหาทรัพย์ ตลอดถึง การผิดศีลของพวกเธอนั้น ก็เพื่อเลี้ยงชีวิตนี้เท่านั้น แต่ชีวิตนี้ก็ไม่ใช่ของ พวกเธอเลย มันจะสิ้นกัน ไม่รู้วันไหน เป็นเช่นนี้ทุกคน ถึงพวกเธอ จะฆ่าไม่ฆ่าเขาก็ตาย เธอก็เหมือนกัน มีความดีเท่านั้นที่ใคร ๆ ฆ่าไม่ตาย อย่างเรานี้จะตายเมื่อไหร่ก็ไม่อนาทรร้อนใจ เพราะความดีเราทำมามากแล้ว " ปรากฏว่าพวกโจรวางมีด วางปืนทั้งหมด น้อมตัวลงกราบพระอาจารย์กงมาอย่าง นอบน้อม หัวหน้าโจรมอบตัว เป็นศิษย์ และได้บวชเป็น ตาผ้าขาวถือศีล 8 เดินธุดงค์ไปด้วยกัน จนกระทั่งหมดลมหายใจ ในขณะทำสมาธิ

อุปสมบท
ในวันที่ 20 พฤษภาคม 2484 ท่านมีอายุ 21 ปี ได้อุปสมบท ณ วัดทรายงาม บ้านหนองบัว อ.เมือง จ.จันทบุรี โดยพระปัญญาพิศาลเถร (หนู ฐิตปญฺโญ) เจ้าอาวาสวัดปทุมวนาราม กรุงเทพฯ เป็นพระอุปัชฌาย์ หลวงปู่กงมา จิรปุญฺโญ เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระมหาทองสุข สุจิตโต เป็นพระอนุสาวนาจารย์ หลวงพ่อได้เดินธุดงค์ติดตามพระอาจารย์กงมาไปในที่ต่าง ๆ เป็นเวลา 8 ปี วันหนึ่ง พระอาจารย์กงมาก็พาท่านเดินธุดงค์จากจังหวัดจันทรบุรีไปจังหวัดสกลนคร เพื่อไปพบพระอาจารย์มั่น ภูริทัตโต หลวงพ่อวิริยังค์ได้รับเลือกให้เป็นอุปัฎฐากอยู่ 4 ปี ได้เดินธุดงค์ร่วมกับพระอาจารย์มั่น เรียนธรรมะ อันลึกซึ้ง ได้จดคำสอนของหลวงปู่มั่นบางตอนไว้ (ปกติท่านห้ามผู้ใดจดเด็ดขาด เมื่ออ่านให้ท่านฟังภายหลังท่าน กลับรับรองว่าใช้ได้) ต่อมาท่านได้เผยแพร่คำสอนนี้แก่สาธารณชน ในหนังสือที่ชื่อว่า "มุตโตทัย"

การศึกษา
เมื่ออายุ ๑๕ ปี พุทธศักราช ๒๔๗๗ ได้บวชเป็นชีปะขาว การศึกษาเนื่องจากการบวช ตั้งแต่อายุยังน้อย จบชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ หลังจากนั้นบรรพชาแล้วเรียนจบ นักธรรมชั้นตรี นอกจากนั้น เป็นเวลาปฏิบัติกรรมฐาน เดินธุดงค์ตลอดระยะเวลาบรรพชา และอุปสมบท

สมณศักดิ์
พ.ศ. 2507 เป็นพระครูสัญญาบัตรชั้นเอกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระครูญาณวิริยะ[1]
พ.ศ. 2510 เป็นพระราชาคณะยกฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระญาณวิริยาจารย์[2]
พ.ศ. 2535 เป็นพระราชาคณะชั้นราชฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระราชธรรมเจติยาจารย์
พ.ศ. 2545 เป็นพระราชาคณะชั้นเทพฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระเทพเจติยาจารย์ สุวิธานศาสนกิจ พิพิธธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[3]
พ.ศ. 2553 เป็นพระราชาคณะชั้นธรรมฝ่ายวิปัสสนาธุระที่ พระธรรมมงคลญาณ สีลาจารวัตรวิมล โสภณวิเทศศาสนดิลก สาธกวิปัสสนาธุราทร ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี[4]

ผลงาน

04 viriyang

พระวิริยะมงคลมหาเจดีย์ ศรีรัตนโกสินทร์ วัดธรรมมงคล ถนนสุขุมวิท 101 เขตพระโขนง กรุงเทพฯ

สร้างวัด 13 แห่งในประเทศไทย

สร้างวัดไทยในประเทศแคนาดา 6 แห่ง
สร้างวิทยาลัยสงฆ์ 2 แห่ง
สร้างสถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์(นิด้า)ที่จังหวัดนครราชสีมา
สร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก (โครงการประทีปเด็กไทย) 5000 กว่าแห่งทั่วประเทศ
สร้างโรงพยาบาลจอมทอง
สร้างที่ว่าการอำเภอจอมทอง
สถาบันประถมศึกษาจอมทอง
สร้างพระมหาเจดีย์ที่สูงที่สุดในประเทศไทย วัดธรรมมงคล
สร้างพระหยกที่ใหญ่ที่สุดในโลก วัดธรรมมงคล
สร้างสถาบันพลังจิตตานุภาพในประเทศไทยและประเทศแคนาดา
สร้างสถาบันออกแบบนานาชาติชนาพัฒน์
สร้างโรงเรียนวัดธรรมมงคล (หลวงพ่อวิริยังค์ อุปถัมภ์) กรุงเทพมหานคร
สร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม วัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
สร้างมหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร ศูนย์ให้การศึกษาวัดธรรมมงคล กรุงเทพมหานคร
สร้างโรงเรียนอนุบาลธรรมศาลา กรุงเทพมหานคร

ผลงานการสร้างวัดในประเทศไทย
วัดที่ 1 ปี พ.ศ. 2486 สร้างวัดบ้านห้วยแตน ตำบลหนองเหียน อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร ขณะอายุได้ 24 ปี
วัดที่ 2 ปี พ.ศ. 2487 สร้างวัดวิริยพลาราม บ้านเต่างอย อำเภอเมือง จังหวัดสกลนคร
วัดที่ 3 ปี พ.ศ. 2489-91 สร้างวัดมณีคีรีวงค์ (กงษีไร่) จังหวัดจันทบุรี
วัดที่ 4 ปี พ.ศ. 2492-95 สร้างวัดดำรงธรรมมาราม อำเภอขลุง จังหวัดจันทบุรีให้เป็นที่ธุดงค์วิปัสสนากัมมัฏฐาน
วัดที่ 5 ปี พ.ศ. สร้างวัดสถาพรพัฒนา (วัดหนองชิ่ม) ตำบลหนองชิ่ม อำเภอแหลมสิงห์ จังหวัดจันทบุรี เป็นแหล่งบำเพ็ญสมณธรรมอย่างสงบร่มเย็น
วัดที่ 6 ปี พ.ศ. 2506 สร้างวัดธรรมมงคล สุขุมวิท 101 พระโขนง กรุงเทพฯ เป็นวัดแรกที่อยู่ในกรุงเทพนี้เนื้อที่ทั้งหมด 32 ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา 9 หลัง ศาลาการเปรียญ ศาลาเมรุฌาปนกิจสถาน อุโบสถ และที่สำคัญที่สุดคือ พระมหาเจดีย์ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ มีความสวยสดงดงามตามศิลปไทยวิจิตระการตาหาชมได้ยาก สิ้นงบประมาณรวมร้อยล้านบาท มีพระภิกษุสงฆ์พำนักอยู่กว่า 500 รูป และมีโรงเรียนอนุบาล อบรมสอนหนังสือให้แก่นักเรียนกว่า 500 คน
วัดที่ 7 ปี พ.ศ. 2512 สร้างวัดผ่องพลอยวิริยาราม สุขุมวิท 105 (ลาซาล) พระโขนง กรุงเทพฯ มีเนื้อที่ทั้งหมดรวม 10 ไร่ มีกุฏิบำเพ็ญสมาธิภาวนา 60 หลัง ศาลาการเปรียญ อุโบสถ หอระฆัง และอื่นๆ
วัดที่ 8 ปี พ.ศ. 2512 สร้างวัด สิริกมลาวาส (วัดใหม่เสนานิคม) ซอยเสนานิคม1 ถนนพหลโยธิน ลาดพร้าว กรุงเทพฯ มีกุฏิ 40 หลัง ศาลาปฏิบัติธรรมโรงเรียนสอนพระปริยัติธรรม อุโบสถ มีพระสงฆ์ 400 รูป
วัดที่ 9 ปี พ.ศ. 2512 สร้างวัดหนองกร่าง วิทยาลัยสงฆ์กำแพงแสน ตำบลทุ่งลูกนก อำเภอกำแพงแสน จังหวัดนครปฐม มีกุฏิ 80 หลัง ศาลาการเปรียญ มีอาคารเรียน 3 หลัง อุโบสถ 2 ชั้น มีพระภิกษุสงฆ์-สามเณรศึกษาอยู่ปัจจุบัน 200 รูป
วัดที่ 10 ปี พ.ศ. 2513 สร้างวัดอมาตยาราม (เขาอีโต้) จังหวัดปราจีนบุรี มีเนื้อที่ทั้งหมด 60 ไร่ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก อุโบสถ ฯลฯ
วัดที่ 11 ปี พ.ศ. 2513 สร้างวัดแก้วพิทักษ์เจริญธรรม สุขุมวิท103 (อุดมสุข) พระโขนง กรุงเทพฯ มีศาลาการเปรียญ กุฏิที่พัก โรงครัว บ่อน้ำ อุโบสถ
วัดที่ 12 ปี พ.ศ. 2514 มีส่วนในการร่วมสร้างวัดชูจิตธรรมมาราม (ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง) หรือมีชื่อเรียกอีกอย่างหนึ่งว่า วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา (มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย) มีเนื้อที่ทั้งหมด 108 ไร่ มีพระภิกษุ-สามเณรศึกษาอยู่ 500 รูป โดยการนำพระพุทธชยสิทธิมงคล (หลวงพ่อยิ้ม) มาประดิษฐานไว้ ณ ศาลาหอฉัน เพื่อให้พระภิกษุสามเณร และพุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา
วัดที่ 13 ปี พ.ศ. 2557 สร้างวัดศรีรัตนธรรมมาราม อำเภอบางพลี จังหวัดสมุทรปราการ มีเนื้อที่ทั้งหมด 86 ไร่

 05 viriyang

พระพุทธชยสิทธิมงคล (หลวงพ่อยิ้ม) ประดิษฐาน ณ วัดชูจิตธรรมาราม (พระอารมหลวง)
ในมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

ผลงานการประพันธ์

มุตโตทัย บันทึกคำสอนของพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ
ประวัติพระอาจารย์มั่น ภูริทัตเถระ
หลักสูตรครูสมาธิ 3 เล่ม
หลักสูตรครูสมาธิ – ชั้นสูง

ปริญญากิตติมศักดิ์
พุทธศักราช ๒๕๓๘ ปริญญาพัฒนบริหารศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ ด้านบริหารการพัฒนา จาก สถาบันพัฒนบริหารศาสตร์ (นิด้า)
พุทธศักราช ๒๕๔๕ ปริญญาครุศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาบริหารการศึกษา จาก สถาบันราชภัฏสวนสุนันทา
พุทธศักราช ๒๕๔๕ ปริญญาศาสนศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ สาขาการศึกษานอกระบบ จาก มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๕๐ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยโยนก จังหวัดลำปาง
พุทธศักราช ๒๕๕๓ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณทิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย จังหวัดเชียงราย
พุทธศักราช ๒๕๕๔ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติศักดิ์ สาขาวิชาการจัดการเพื่อการพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฎราชนครินทร์ จังหวัดฉะเชิงเทรา
พุทธศักราช ๒๕๕๕ ปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาพระพุทธศาสนา จาก มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย
พุทธศักราช ๒๕๕๖ ปริญญาศิลปศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคลสุวรรณภูมิ
พุทธศักราช ๒๕๕๗ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิศวกรรมโยธาและเทคโนโลยี จาก มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
พุทธศักราช ๒๕๕๙ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและจริยศาสตร์ จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
พุทธศักราช ๒๕๕๙ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาปรัชญาและศาสนา จาก มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชายุทธศาสตร์การพัฒนา จาก มหาวิทยาลัยราชภัฏพระนคร
พุทธศักราช ๒๕๖๐ ปริญญาปรัชญาดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาวิทยาการคอมพิวเตอร์ จาก สถาบันเทคโนโลยีพระจอมเกล้า เจ้าคุณทหารลาดกระบัง

 -------------------------------------------
ขอบคุณข้อมูล:
https://th.wikipedia.org
http://www.dhammajak.net
http://www.dhammamongkol.com
https://www.facebook.com/mvkmember.mahavajiralongkorn

prayoon 01

สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สนฺตงฺกุโร) ป.ธ.๙

อดีตกรรมการมหาเถรสมาคม
อดีตเจ้าอาวาสวัดเทพศิรินทราวาส
อดีตคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
อดีตอุปนายกสภามหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
อดีตรักษาการแทนเจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม พระอารามหลวง อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา

ประวัติ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโร มหาเถระ)

prajuab01

สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันฺตาจาโร) เป็นสมเด็จพระราชาคณะฝ่ายธรรมยุติกนิกาย อดีตเคยดำรงตำแหน่งสำคัญ เช่น คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต กรรมการมหาเถรสมาคม ประธานอำนวยการฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร เป็นผู้ถึงพร้อมด้วยสีลาจารวัตรมีความรอบรู้ทั้งในทางคดีโลกและคดีธรรม กล่าวได้อย่างเต็มภาคภูมิว่า เป็นสมเด็จพระราชาคณะรูปแรกของไทยที่สำเร็จการศึกษาในทางคดีโลกถึงชั้นปริญญาเอก

ชาติกาลและชาติภูมิ
สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีนามเดิมว่า ประจวบ เนียมหอม เกิดเมื่อวันจันทร์ ขึ้น 5 ค่ำ เดือน 8 ปีขาล ตรงกับวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ. 2469 เวลา 11.40 น. ที่หมู่บ้านโรงจีน ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นบุตรคนที่หนึ่งของคุณพ่อคง คุณแม่ท้อน เนียมหอม มีพี่น้องร่วมสายโลหิต 5 คน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าถึงชีวิตในวัยเด็กว่า “เมื่อครั้งเป็นเด็กนั้น ตัวเล็ก ผอมสูง และไม่ค่อยจะแข็งแรงนัก จึงเข้าเรียนช้า ปกติเด็กทั่วไปจะเข้าเรียนชั้นประถมศึกษาตามเกณฑ์ เมื่ออายุ 7 ปีบริบูรณ์ แต่เราได้เข้าเรียนระดับประถมศึกษาเมื่ออายุ 10 ปี ที่โรงเรียนเฉลียววิทยา วัดเหนือ บางแพ ซึ่งเป็นโรงเรียนประชาบาล อยู่ใกล้บ้าน เรียนอยู่ 2 ปีในชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 หลังจากนั้นก็บวชเณร”

 การบรรพชา

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าถึงสาเหตุที่บรรพชาเอาไว้ว่า “ขณะกำลังเรียนอยู่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 พลตำรวจเอิบ ผลเอนก ผู้มีศักดิ์เป็นพี่เขย ได้ลาราชการที่จังหวัดกาญจนบุรี มาอุปสมบทอยู่จำพรรษาที่ วัดเหนือบางแพ หลวงพี่เอิบได้ชวนให้มาเป็นลูกศิษย์เดินถือปิ่นโตตามในขณะบิณฑบาตร ตลอดพรรษา ก่อนที่หลวงพี่เอิบจะลาสิกขา ได้ชักชวนให้ไปบวชเณร เราก็อยากบวช ได้ไปขออนุญาตแม่ แต่แม่ไม่อนุญาต เราร้องไห้โฮเลย จนแม่สงสารหรือหมั่นใส้ก็ไม่รู้ จึงอนุญาตให้บวช โดยพูดประชดว่า “เอ็งอยากจะบวชก็บวช บวชแล้วก็ให้บวชจนตาย เอ็งอย่าสึกออกมานะ” คงจะเป็นประกาศิตของโยมแม่คำนี้กระมัง ที่ไม่ได้สึก ทั้งที่เพื่อนรุ่นราวคราวเดียวกันก็สึกออกไปเกือบหมด”

วันที่ 4 พฤศจิกายน พ.ศ. 2480 ขณะอายุได้ 12 ปี ด.ช.ประจวบ เนียมหอม ได้บรรพชาเป็นสามเณร ณ อุโบสถวัดเหนือบางแพ ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี โดยมีพระธรรมเสนานี ราชบุรีวรนายก(เงิน นนฺโท) เจ้าอาวาส วัดสัตตนารถปริวัตรวรวิหาร อำเภอเมือง จังหวัดราชบุรี เป็นพระอุปัชฌาย์ พระครูนาถ สุมโน เจ้าอาวาสวัดเหนือบางแพ ตำบลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี เป็นพระศีลาจารย์

ในสมัยนั้น ทางราชการอนุญาตให้สามเณรเข้าเรียนร่วมกับนักเรียนในโรงเรียนได้ สามเณรประจวบ เนียมหอม จึงได้เข้าศึกษาต่อชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่โรงเรียนเฉลียววิทยา จนจบชั้นประถมศึกษปีที่ 4 พร้อมกับสอบนักธรรมชั้นตรีได้ในสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2483 เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าถึงตอนเป็นสามเณรไว้ว่า “หัวไม่ดี เรียนไม่เก่ง แต่ก็ชอบเรียน ชอบอ่านหนังสือ ก็สอบผ่านมาเรื่อยๆ บางทีก็เรียนจบก่อนคนเก่งคนหัวดี”

เข้าสู่กรุงเทพมหานคร
พ.ศ.2483 พระครูวิบูลธรรมคุต วัดราชพิธสถิตมหาสีมาราม (ต่อมาลาสิกขา เข้ารับราชการเป็นอนุศาสนาจารย์ กองทัพบก พ.ท.วิบูล สิริสุภาส) ผู้มีศักดิ์เป็นญาติ และคุ้นเคยกับบิดา ได้กลับมาเยี่ยมญาติที่อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี คุณพ่อคง เนียมหอม จึงฝากสามเณรประจวบให้เข้ามาศึกษาในกรุงเทพมหานคร พระครูวิบูลธรรมคุต ได้พาสามเณรประจวบกลับมาวัดราชบพิธ แล้วนำไปพบ พระเทพเวที (จวน อุฏฐายีมหาเถร) วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อเดือนพฤษภาคม พ.ศ. 2483 (ต่อมาได้รับการสถาปนาเป็น สมเด็จพระสังฆราช) เพื่อมอบให้เป็นศิษย์ในปกครอง
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าถึงตอนฝากตัวไว้ว่า พระครูวิบูลฯ ได้เรียนเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า “ขอฝากเณรน้องชายมารับใช้สักองค์” เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทอดพระเนตรเรา แล้วตรัสว่า “นี่หรือ เณรน้องชาย นึกว่าโตแล้ว ตัวกะเปี๊ยกแค่เนี่ยหรือ ไม่เป็นไร มาอยู่ด้วยกัน”สามเณรประจวบ เนียมหอม จึงได้อยู่ที่กุฏิพระเทพเวที มาตั้งแต่นั้น
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เล่าถึงเหตุการณ์ตอนนั้นไว้ว่า “ในปีแรกที่มาอยู่วัดมกุฏกษัตริยารามนั้น มีสามเณร 2 รูป ปรนนิบัติรับใช้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ อยู่ก่อนแล้ว แต่อายุครบอุปสมบทในพรรษานั้น จึงเหลือเราเป็นสามเณรปรนนิบัติรับใช้อยู่เพียงรูปเดียว ต้องทำหน้าที่ทุกอย่าง เริ่มตั้งแต่ตื่นนอนเช้ามืด ปัดกวาดเช็ดถูกุฏิ รดน้ำต้นไม้ เข้าครัวหุงข้าว และอยู่ปรนนิบัติรับใช้ เจ้าประคุณสมเด็จ จนถึงตอนดึก ต้องถวายการบีบนวดก่อนนอนแทบทุกคืน จนกว่าท่านจะพักผ่อน ต่อจากนั้นเราถึงจะได้ไปพักผ่อน”
เนื่องจากพระเทพเวที ผู้เป็นอาจารย์ เป็นอาจารย์ใหญ่โรงเรียนบาลี วัดมกุฏกษัตริยาราม ทำให้สามเณรประจวบ เนียมหอม ต้องขยันศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกธรรมและบาลี พร้อมทั้งปฏิบัติหน้าที่รับใช้พระอาจารย์ด้วย
ต่อมา พระเทพเวที ได้รับแต่งตั้งเป็นสมาชิกสังฆสภา, สังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่, ผู้รักษาการในตำแหน่งสังฆนายก แทน สมเด็จพระมหาวีระวงศ์ (อ้วน ติสสเถร) ในปี พ.ศ.2488 ได้เป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม และรับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นที่ พระธรรมปาโมกข์
เมื่อพระอาจารย์มีภาระในคณะสงฆ์เพิ่มขึ้น สามเณรประจวบ เนียมหอม จึงต้องรับหน้าที่สนองงานท่านเพิ่มขึ้น ทำให้สอบนักธรรมชั้นโทได้ เมื่อ พ.ศ.2486 อายุได้ 17 ปี สอบวิชาการบัญชีสากล ทางไปรษณีย์ของโรงเรียนช่างได้ เมื่อ พ.ศ.2488 อายุได้ 19 ปี และสอบเปรียญธรรม 3 ประโยคได้ในสนามหลวง เมื่อ พ.ศ.2489 อายุได้ 20 ปี

 prajuab02

วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรมหาวิหาร (Source Pic: https://mapio.net)

prajuab03   prajuab04

การอุปสมบท
เมื่อ สามเณรประจวบ เนียมหอม อายุครบ 20 ปีบริบูรณ์ พระธรรมปาโมกข์ ผู้เป็นอาจารย์ จึงให้อุปสมบท เป็นพระภิกษุ ณ พระอุโบสถ วัดมกุฏกษัตริยาราม เมื่อวันที่ 22 เมษายน พ.ศ. 2489 โดยมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี) ขณะทรงดำรงสมณศักดิ์ที่พระธรรมปาโมกข์ เป็นพระอุปัชฌาย์ พระธรรมกิจจานุการี (ผัน กิจฺจการี) วัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระกรรมวาจาจารย์ พระปริยัติเมธี (หิ้น คันธาโร) ต่อมาได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาส วัดมกุฏกษัตริยาราม รูปที่ 6 ดำรงสมณศักดิ์สุดท้านที่ พระเทพกิตติเมธี เป็นพระอนุสาวนาจารย์ ได้นามฉายา “กนฺตาจาโร” (ผู้มีความประพฤติที่งดงาม) นับเป็นสัทธิวิหาริกรูปแรก ในสมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร)

prajuab05

ด้านวิทยฐานะ
แผนกธรรม นักธรรมเอก
แผนกบาลี เปรียญธรรม 5 ประโยค
แผนกสามัญ
ประโยคเตรียมอุดมศึกษา (ม. 8)
ประโยคครู พ.
ประโยคครู พ.ป.
ปริญญาตรี ศาสนศาสตรบัณฑิต (ศน.บ.) จากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
พ.ศ. 2509 ปริญญาโท (M.A.) ทางปรัชญา จากมหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย
พ.ศ. 2530 ปริญญาเอก (Ph.D.) ทางปรัชญา จากมหาวิทยาลัยพาราณสี ประเทศอินเดีย

เกียรติคุณพิเศษ
1. ได้รับพระราชทานรางวัลเสาเสมาธรรมจักรจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ในฐานะผู้ทำคุณประโยชน์ต่อพระพุทธศาสนา ประจำปี 2526
2. ได้รับคัดเลือกจากสภาสังคมสงเคราะห์แห่งประเทศไทย ในพระบรมราชูปถัมภ์ รับพระราชทานโล่ห์รางวัล “มหิดลวรานุสรณ์” ประจำปี 2544
3. ได้รับปริญญาพุทธศาสตรดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์ สาขาวิชาการบริหารการศึกษา มหาวิทยาลัยมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย วันที่ 1 เมษายน พ.ศ.2547

      prajuab06   prajuab07

สมณศักดิ์

พ.ศ. 2505 ได้รับพระราชทานตั้งสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระกิตติสารมุนี
พ.ศ. 2515 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นราช ที่ พระราชกวี นรสีหพจนปิลันธน์ คันถธุรบัณฑิต ยติคณิสสร บวชสังฆาราม คามวาสี'
พ.ศ. 2517 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโมลี ตรีปิฎกธาดา มหากถิกสุนทร ยติคณิสสร บวชสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2528 ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมธัชมุนี ปริยัติเมธีสิกขากร ธรรมธรสังฆโสภณ ปรหิตโกศลสังฆวิภูษิต ยติคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี ในการนี้ พระอมราภิรักขิต (มงคล เปมสีโล) ได้ดำริและขออนุญาตมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.) จัดพิมพ์หนังสือมงคลในพระพุทธศาสนา (ฉบับสำหรับเยาวชน) ของพระมหาสุพล พลญาโณ เพื่อเป็นการฉลองพฤหัสบดีจักร พระธรรมธัชมุนี เมื่อวันที่ 14 มิถุนายน พ.ศ.2529 และแจกแก่ผู้ที่มาร่วมงานถวายมุทิตาสักการะ

พ.ศ. 2536 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะเจ้าคณะรอง ชั้นหิรัญบัฏ ที่ พระธรรมปัญญาจารย์ ไพศาลสังฆวิทยาธิการี อุฏฐายีวรางกูรสังฆวิสุทธิ์ พุทธบริษัทอรรถธรรมปสาทกร สุนทรศีลขันธสมาจารสุทธิ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี
พ.ศ. 2543 ได้รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นสมเด็จพระราชาคณะ ชั้นสุพรรณบัฏ ที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธพจนานุสิต วิจิตรปฏิภาณพัฒนคุณ วิบุลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฎกธรรมวราลงกรณ์ ธรรมยุตติกคณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาส

prajuab08

ผลงานของท่าน

ด้านการปกครอง
วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ. 2505 พระกิตติสารมุนี ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นราชที่ พระราชกวี ในปี พ.ศ. 2517 พระเทพกิตติเมธี เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม ได้มรณภาพด้วยโรคมะเร็ง คณะสงฆ์ได้แต่งตั้งให้ พระราชกวี ดำรงตำแหน่ง เจ้าอาวาส วัดมกุฏกษัตริยาราม รูปที่ 7 และได้รับแต่งตั้งเป็นพระอุปัชฌาย์ วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2517 ได้รับพระมหากรุณาธิคุณโปรดพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์ เป็นพระราชาคณะชั้นเทพ ที่ พระเทพโมลี
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้ปรารภถึงการทำหน้าที่เจ้าอาวาสไว้ว่า “หากแม้นว่า ไม่สามารถทำให้เจริญขึ้นไปได้ ก็ขออย่าให้เสื่อมทรามลงไปกว่าเดิม” เจ้าประคุณฯ พูดเสมอว่า “เราเกิดมามีวาสนา ที่ได้เจ้านายดี (หมายถึง สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) และได้ลูกน้องดี (หมายถึงผู้ช่วยเจ้าอาวาส) ซึ่งเข้มแข็ง รู้หน้าที่รับผิดชอบ ช่วยเหลือทำการแทนได้ ชนิดที่หายห่วงเลยทีเดียว”

    prajuab09    prajuab10

ตำแน่งงานด้านการบริหาร

เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
พ.ศ. 2491 – 2502 เป็นเลขานุการสังฆมนตรีว่าการองค์การเผยแผ่และสั่งการแทนสังฆนายก
พ.ศ. 2502 – 2505 เป็นเลขานุการสังฆนายก
พ.ศ. 2515 เป็นเลขานุการสมเด็จพระสังฆราช
เป็นเลขานุการคณะกรรมการส่งเสริมสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย (ก.ส.ม.)
เป็นกรรมการและเลขานุการมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.)
เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิ ก.ศ.ม.
พ.ศ. 2505 - 2526 เป็นรองเลขาธิการและเลขาธิการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยพระพุทธศาสนา แห่งประเทศไทย
พ.ศ. 2526 - 2537 เป็นอธิการบดีสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย
เป็นกรรมการอบรมพระธรรมทูตต่างประเทศ (ธรรมยุต)
เป็นอนุกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศ สำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
เป็นกรรมการเถรสมาคมคณะธรรมยุต
เป็นผู้อำนวยการมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อน
เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิธัมสิริ
เป็นกรรมการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (ม.ว.ก.)
เป็นกรรมการมูลนิธิสิรินธร (ส.ธ.)
เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
เป็นกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)
เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
เป็นประธานกรรมการบริหารสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
เป็นผู้รักษาการเจ้าคณะใหญ่ (ธรรมยุต)

การบริหารงานด้านการศึกษา

เจ้าประคุณสมเด็จฯ บริหารและพัฒนางานด้านการศึกษาสนองพระดำริในเจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช (ขวน อุฏฐายีมหาเถร) พระอุปัชฌาย์ ดังมีรายละเอียดดังนี้
เมื่อวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2512 มหาเถรสมาคม อันมีสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) เป็นประธาน ได้ออกคำสั่งมหาเถรสมาคมเรื่องการศึกษาของมหาวิทยาลัยสงฆ์ พ.ศ.2512 มีผลให้มหาวิทยาลัยสงฆ์ทั้ง 2 แห่ง คือ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย และมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เป็นมหาวิทยาลัยสงฆ์อย่างเป็นทางการ โดยมีคณะสงฆ์รับรองเป็นหลักฐาน

ในครั้งนั้น มหาวิทยาลัยสงฆ์มีจำนวนนักศึกษาน้อยลง เนื่องจากในปีหนึ่งๆ มีผู้สอบเปรียญธรรมได้น้อย จึงมีผู้มาสมัครเรียนน้อย ไม่พอกับความต้องการ และเหตุที่พื้นความรู้สายสามัญของผู้สมัครไม่เท่ากัน ทำให้เกิดความยุ่งยากในการจัดห้องเรียน

สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) ทรงดำรงตำแหน่งนายกสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ทรงดำริว่า สมควรที่จะมีการปรับพื้นความรู้สายสามัญของผู้สมัครเรียนมหาวิทยาลัยสงฆ์ ให้เท่าเทียมกันในชั้นเตรียมอุดมศึกษา โดยเปิดโรงเรียนทำการสอนวิชาสายสามัญ ตั้งแต่ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ควบคู่ไปกับการเรียนนักธรรมชั้นตรี และบาลีไวยากรณ์ จนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 นักธรรมชั้นเอก และเปรียญธรรม 4 ประโยค แล้วจึงให้สมัครเข้าเป็นนักศึกษามหาวิทยาลัยสงฆ์ต่อไป ทรงมีพระบัญชาให้คณะกรรมการวัดมกุฏกษัตริยาราม ติดต่อขอความอุปถัมภ์จากสำนักงานสลากกินแบ่งรัฐบาลในการก่อสร้างอาคารเรียน และให้สภาการศึกษาฯ ดำเนินการจัดการสายสามัญขึ้น

ครั้น พ.ศ.2513 กระทรวงศึกษาธิการ สนองพระดำริด้วยการแต่งตั้งคณะกรรมการ อันประกอบด้วยฝ่ายบรรพชิตและคฤหัสถ์ เพื่อยกร่างหลักสูตรวิชาสายสามัญสำหรับฝ่ายพระภิกษุสามเณร โดยมี นายจรูญ วงศ์สายัณห์ อธิบดีกรมวิชาการ เป็นประธานกรรมการ ฝ่ายบรรพชิตได้แก่ พระเทพคุณาภรณ์ (เกี่ยว อุปเสโณ) ปัจจุบันรับสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระพุฒาจารย์ ประธานคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช เลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย, พระเทพกวี (ประยูร สันตังกุโร) ปัจจุบันรับการสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระญาณวโรดม เลขาธิการสภาการศึกษาฯ, พระกิตติสารมุนี (ประจวบ กันตาจาโร) ปัจจุบันรับการสถาปนาเป็นที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ รองเลขาธิการสภาการศึกษาฯ, พระศรีวิสุทธิโมลี (ประยุทธ ปยุตโต) ปัจจุบันรับสถาปนาเป็นที่ พระพรหมคุณาภรณ์ รองเลขาธิการมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย

เมื่อคณะกรรมการพิจารณาหลักสูตรเสร็จแล้ว ได้นำเสนอต่อ นายสุกิจ นิมมาเหมินทร์ รัฐมนตรีว่าการกระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งรัฐมนตรีฯ ได้มีคำสั่งกระทรวงศึกษาธิการให้ใช้หลักสูตรนี้ เป็นหลักสูตรในโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา พ.ศ.2514

เมื่อประกาศใช้หลักสูตรแล้ว สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) ทรงดำริว่า หลักสูตรนี้น่าจะเป็นประโยชน์แก่พระภิกษุสามเณรทั่วไป ทรงมีลิขิตให้ พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ อธิบดีกรมการศาสนา นำเสนอหลักสูตรต่อมหาเถรสมาคม ซึ่งอธิบดีกรมการศาสนาได้ถ่ายสำเนาพระลิขิตและหลักสูตรถวายกรรมการมหาเถรสมาคมและผู้เกี่ยวข้อง ความในพระลิขิตว่า

เจริญพร อธิบดีกรมการศาสนา

สัทธรรม 3 ประการ คือ ปริยัติธรรม ปฏิบัติธรรม และปฏิเวธธรรม เป็นหลักของการศึกษาที่สำคัญยิ่งในพระพุทธศาสนา พระปริยัติธรรมเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ปฏิบัติธรรม พระปฏิบัติธรรมเป็นปัจจัยเกื้อกูลแก่ปฏิเวธธรรม พระปริยัติธรรมเป็นพื้นฐานการศึกษา ที่จะให้เกิดพระปฏิบัติธรรม และพระปฏิเวธธรรม
การศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณรในประเทศไทยเรา แบ่งเป็น 2 แผนก คือ แผนกธรรม และแผนกบาลี สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้ทรงวางหลักสูตรการศึกษาแผนกธรรม ให้มีการเรียนและสอบเป็น 3 ชั้น คือ นักธรรมชั้นตรี นักธรรมชั้นโท นักธรรมชั้นเอก และได้ทรงแก้ไขปรับปรุงการศึกษาแผนกบาลีจากการเรียนแปลสอบด้วยปากเปล่า มาเป็นการเรียนและสอบด้วยข้อเขียน การศึกษาทั้ง 2 แผนกนี้ ได้ดำเนินด้วยดีตลอดมาจนปัจจุบันนี้ ปรากฏว่ามีผู้ศึกษาเล่าเรียนเพิ่มมากขึ้นตามลำดับ
แต่ปัจจุบันนี้ การศึกษาทางโลกเจริญก้าวหน้ามากขึ้น ตามความเปลี่ยนแปลงของโลก การศึกษาทางปริยัติธรรม ก็จำเป็นต้องอนุวัติไปตามการเปลี่ยนแปลงของโลกบ้าง จึงเห็นสมควรที่จะมีหลักสูตรในการเรียนพระปริยัติธรรมเพิ่มขึ้นอีกแผนกหนึ่ง คือ หลักสูตพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ทั้งนี้ เพื่อให้ผู้ศึกษาได้มีโอกาสบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ได้ทั้งทางโลกและทางธรรมควบคู่กันไป เพื่อให้หลักสูตรนี้ได้ใช้สอนในโรงเรียนพระปริยัติธรรมโดยทั่วถึงกัน จึงสมควรให้เสนอหลักสูตรนี้ให้กรรมการมหาเถรสมาคมทราบไว้ด้วย”
ขณะที่มีการพิจารณาหลักสูตรอยู่นั้น วัดมกุฏกษัตริยาราม ได้ดำเนินการก่อสร้างอาคารเรียนตามพระดำริ และสภาการศึกษา ไดเปิดโรงเรียนสอนวิชาสามัญศึกษาแก่ภิกษุสามเณรในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ขึ้น ณ พระอุโบสถคณะรังสี วัดบวรนิเวศวิหาร เมื่อก่อสร้างอาคารเรียนเสร็จเรียบร้อยแล้ว ในปี พ.ศ.2514 สภาการศึกษา จึงได้ย้ายนักเรียนมาเรียนที่อาคารเรียนนี้ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) เสด็จเปิดอาคารในวันที่ 1 ตุลาคม พ.ศ.2514 อันเป็นวันคล้ายวันสวรรคตในพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว และทรงประทานนามโรงเรียนว่า วชิรมกุฏ เพื่อถวายเป็นพระบรมราชานุสรณ์แด่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ดังนั้น โรงเรียนวชิรมกุฏ จึงเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา แห่งแรกของประเทศไทย ที่ดำเนินการตามหลักสูตรในคำสั่งที่กระทรวงศึกษาธิการกำหนด และมีการพัฒนามาตามลำดับ ปัจจุบันมีเปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ถึงชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6

prajuab11

โรงเรียนวชิรมกุฎ (Source Pic: https://connect.rabbit.co.th)

มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
ตั้งอยู่ที่เลขที่ 57 หมู่ที่ 1 ถนนพหลโยธิน ระหว่างกิโลเมตรที่ 73-74 (สายกรุงเทพฯ-สระบุรี) ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
เมื่อจำนวนนักเรียนที่โรงเรียนวชิรมกุฏเพิ่มมากขึ้น ทำให้ห้องเรียนไม่เพียงพอ ความทราบถึง นายฉบับ-นางสงวน ชูจิตารมย์ จึงมีจิตถวายที่ดินจำนวน 144 ไร่ ณ ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา แด่เจ้าพระคุณสมเด็จพระสังฆราช เพื่อใช้ในกิจการด้านการศึกษาของคณะสงฆ์ โดยมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
1. เพื่อเป็นสถาบันการศึกษาชั้นสูงของคณะสงฆ์
2. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยศึกษาเล่าเรียนของพระภิกษุสามเณร
3. เพื่อเป็นสถานที่พักอาศัยศึกษาเล่าเรียนพระพุทธศาสนาของชาวต่างประเทศ
4. เพื่อเป็นศูนย์กลางการศึกษาค้นคว้าชั้นสูงเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา
5. เพื่อเป็นสถานที่อบรมในด้านการปฏิบัติธรรม
6.เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาฝึกอบรมพระภิกษุ ผู้จะไปปฏิบัติศาสนกิจในระดับสูง เช่น งานด้านการปกครอง การเผยแผ่ และการสาธารณูปการ เป็นต้น
เมื่อรับการถวายที่ดินแล้ว สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) ได้สิ้นพระชนม์ในวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ.2514 ทำให้การดำเนินการที่ทรงพระดำริในที่ดินแปลงนี้หยุดชั่วคราว เมื่อการพระศพเสร็จเรียบร้อยแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโรมหาเถร) จึงได้ดำเนินการสนองพระดำริแห่งพระอุปัชฌาย์ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) โดยได้รับเมตตาจาก สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช (เจริญ สุวัฒนมหาเถร) ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระญาณสังวร ประธานกรรมการสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย รับภาระเป็นประธานดำเนินงานตามพระดำริต่อมา การก่อสร้างอาคารเรียนชั่วคราวหลังแรก จึงเริ่มขึ้นในวันที่ 5 มีนาคม พ.ศ.2516 และแล้วเสร็จสามารถรับสามเณรที่เจ้าคณะอำเภอ เจ้าคณะจังหวัดต่างๆ ได้คัดเลือกส่งเข้ามาทันในปีการศึกษา ซึ่งสมเด็จพระมหาวีรวงศ์ (พิมพ์ ธัมมธโร) ผู้ปฏิบัติหน้าที่แทนสมเด็จพระสังฆราช ได้เป็นประธานเปิดในวันที่ 16 พฤษภาคม พ.ศ.2516 สถานศึกษานี้มีชื่อว่า สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วิทยาลัยสงฆ์วังน้อย

พ.ศ.2518 สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ เสด็จพระราชดำเนินทรงวางศิลาฤกษ์สร้างอาคารเรียน ณ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย สาขาวังน้อย

พ.ศ.2519 ได้ดำเนินการขอตั้งเป็นวัด ชื่อ วัดชูจิตธรรมาราม เพื่อเป็นเกียรติแก่วงศสกุล “ชูจิตารมย์” ผู้ถวายที่ดินเป็นปฐม และได้รับพระราชทานวิสุงคามเสมาเมื่อ พ.ศ.2521

วันที่ 20 มีนาคม พ.ศ.2520 สมเด็จพระบรมโอรสาธิราช สยามกุฏราชกุมาร พระราชทานพระนามาภิไธย เป็นชื่อสถานศึกษาว่า มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย และพระราชทาน พระนามาภิไธยย่อ ม.ว.ก. ภายใต้ธรรมจักร พร้อมสุภาษิตว่า วชิรูปมจิตโต สิยา (พึงเป็นผู้มีจิตแกร่งประดุจเพชร) ให้เป็นตราประจำวิทยาลัย

ตั้งแต่ ปี พ.ศ. 2525 เป็นต้นมา ก่อนถึงพรรษากาล สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดา สยามบรมราชกุมารี ทรงพระราชทานความอนุเคราะห์ในการอุปสมบทแก่สามเณรที่มีผลการเรียนดีตลอดมา โดยจะเสด็จพระราชดำเนินถวายอัฏฐบริขารแก่นวกภิกษุรูปนั้น ณ พระวิหารวัดมกุฏกษัตริยาราม พระมหาหอมหวล ปุญญวันโต เป็นนวกภิกษุรูปแรกที่ทรงอนุเคราะห์

   prajuab12    prajuab13

เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พุทธศักราช พ.ศ.2525 เจ้าพระคุณสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก (วาสน์ วาสนมหาเถร) วัดราชบพิธสถิตมหาสีมารามฯ เสด็จไปทรงวางศิลาฤกษ์อุโบสถ วัดชูจิตธรรมาราม ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา
มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย แบ่งกิจการเป็น 2 ส่วน คือ
1. โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
2. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

1. โรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

จัดการศึกษาเป็น 2 หลักสูตร คือ
1. หลักสูตรการศึกษาของคณะสงฆ์ไทย ที่เป็นหลักสูตรโดยตรง เฉพาะพระภิกษุสามเณร ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนนักธรรมและบาลี ปัจจุบันเปิดการเรียนการสอน ตั้งแต่ นักธรรมชั้นตรี ถึง นักธรรมชั้นเอก และบาลีไวยากรณ์ชั้นเปรียญธรรม 9 ประโยค โดยจัดการเรียนการสอนในภาคเช้า ตั้งแต่เวลา 08.00 น. ถึง 10.30 น.

2. หลักสูตรของกระทรวงศึกษาธิการ กล่าวคือ หลักสูตรพระปริยัติธรรมแผนกสามัญศึกษา เปิดสอนตั้งแต่ชั้นมัธยมศึกษาตอนต้น และตอนปลาย ตั้งแต่เวลา 13.00 น. ถึง 17.20 น.

วิสัยทัศน์ของโรงเรียน “พัฒนาคุณภาพของนักเรียนให้มีคุณลักษณะดีด้านคุณธรรมสอดคล้องกับการเป็นศาสนทายาท ประสานความรู้ทางโลกและทางธรรม เพื่อพัฒนาศักยภาพของตนได้”

ปัจจุบัน พระราชวัชราภรณ์ (สมพงษ์ ฐิตวังโส) เจ้าอาวาสวัดชูจิตธรรมาราม เป็นผู้อำนวยการโรงเรียน โดยเปิดรับพระภิกษุ สามเณรทั่วประเทศ ผู้ขาดโอกาสทางการศึกษาโดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น มีสามเณร
สมัครเป็นนักเรียนประจำประมาณปีละ 600 รูป

prajuab14

2. มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย

จัดการศึกษาในระดับศาสนศาสตรบัณฑิต เปิดสอน 4 คณะ คือ คณะมนุษยศาสตร์ คณะศึกษาศาสตร์ คณะศาสนาปรัชญา และคณะสังคมศาสตร์ ระดับมหาบัณฑิต 3 คณะ คือ คณะพุทธศาสน์ คณะการจัดการศึกษา คณะสังคมศาสตร์
ปัจจุบัน มี พระวินัยมุนี (ธรณิศ ชาคโร) เป็นรองอธิการบดี มีนักศึกษาทั้งภาคปกติ และภาคสมทบ ประมาณ 600 รูป/คน

พันธกิจ มุ่งจะผลิตบุคลากรทางพระพุทธศาสนาที่ประกอบด้วย ความรู้ดีทั้งทางโลกและทางธรรม ความสามารถดีในการคิด พูด ทำ มีคุณธรรม และจริยธรรมประจำใจ สามารถควบคุมกายวาจา ใจให้สงบเย็น มีอุดมคติ และมีอุดมการณ์มุ่งอุทิศตนและบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคม

ปรัชญา ความเพียรเลิศ อดทนเยี่ยม เปี่ยมกตัญญู รู้สัจจะ

โรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ วัดไผ่ดำ

เมื่อ พ.ศ.2531 คณะพุทธบริษัทวัดไผ่ดำ ตำบลทองเอน อำเภออินทร์บุรี จังหวัดสิงห์บุรี ได้เข้าพบเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ครั้งดำรงสมศักดิ์ที่ พระธรรมปัญญาจารย์) ในฐานะผู้อำนวยการมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย เพื่อขอพระภิกษุสามเณรไปจำพรรษา ณ วัดไผ่ดำ พร้อมทั้งแจ้งข้อมูลเบื้องต้นว่า ตั้งแต่ พ.ศ.2514-2529 พระเทพเจติยาจารย์ (วิริยัง สิรินธโร) วัดธรรมมงคล ได้จัดส่งพระภิกษุ-สามเณร มาจำพรรษา พร้อมทั้งจัดให้มีการศึกษานอกโรงเรียนสำหรับพระภิกษุ-สามเณรด้วย หลังจากนั้นมา ก็ไม่มีพระภิกษุสามเณรอยู่ปฏิบัติศาสนกิจเลย

ขณะนั้น จำนวนสามเณรในมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัยมีมากขึ้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้พิจารณาแล้ว จึงรับภาระจัดส่งพระภิกษุสามเณรจากมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย ไปปฏิบัติศาสกิจ ณ วัดไผ่ดำ และได้ขยายการศึกษาพระปริยัติธรรม แผนกสามัญ ไปที่วัดไผ่ดำ

วันที่ 11 พฤษภาคม พ.ศ.2531 ได้เปิดการเรียนการสอนเป็นครั้งแรก โดยเปิดเป็นห้องเรียนหนึ่งของมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย มีจำนวนนักเรียนทั้งหมด 40 รูป พระคณาจารย์/เจ้าหน้าที่ 9 รูป/คน ซึ่งมีพระมหาสุชาติ ฐิตากาโร เป็นครูใหญ่รูปแรก

prajuab15
วัดกฤษณเวฬุพุทธาราม (วัดไผ่ดำ)
(Source Pic: http://www.watphaidam.com)

พ.ศ.2534 กระทรวงศึกษาธิการ มีนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษาภาคบังคับ (ขั้นพื้นฐาน) โดยมอบหมายให้กรมการศาสนา เป็นหน่วยงานที่รับผิดชอบโดยตรง เพื่ออนุวัตรให้สอดคล้องกับนโยบายขยายโอกาสทางการศึกษา

เมื่อวันที่ 30 มกราคม พ.ศ.2535 พระธรรมวราจารย์ (แบน กิตติสาโร) วัดบวรนิเวศวิหาร (ขณะดำรงสมศักดิ์ที่ พระเทพวราจารย์) เป็นผู้ดำเนินการจัดตั้งโรงเรียนวัดไผ่ดำ แผนกสามัญศึกษา และเจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นผู้จัดการ พระมหาหอมหวล ปุญญวันโต (เจ้าอาวาสวัดไผ่ดำในสมัยนั้น) เป็นครูใหญ่ เปิดสอนในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น

วันที่ 4 สิงหาคม พ.ศ.2539 พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าพัชรกิติยาภา เสด็จฯ วางศิลาฤกษ์อาคาร “ธรรมปัญญาจารย์” และทรงเป็นประธานในพิธีเจริญพระพุทธมนต์ถวาย สมเด็จพระบรมโอรสาธิราชฯ สยามมกุฏราชกุมาร เจริญพระชนมายุครบ 44 พรรษา

วันที่ 20 สิงหาคม พ.ศ.2541 สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯ พระราชดำเนินวัดไผ่ดำ เป็นการส่วนพระองค์ ทอดพระเนตรพระอุโบสถ เจดีย์ อาคารเรียนเสียง-เป้า ปาลวัฒน์วิไชย การจัดการศึกษาแผนกสามัญศึกษา ทรงปลูกต้นกัลปพฤกษ์ ข้างทางเดินเข้าวิหาร และทรงเยี่ยมราษฎรที่มาเฝ้ารับเสด็จ และตั้งแต่กฐินกาล พรรษา

2542 เป็นต้นมา สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จพระราชดำเนินถวายผ้าพระกฐิน ณ วัดไผ่ดำ เป็นประจำทุกปี

วัดมกุฏคีรีวัน
ตั้งอยู่ ณ เลขที่ 86 หมู่ที่ 1 ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา ก่อนการสำรวจที่ดินเสื่อมโทรมของสำนักงานปฏิรูปที่ดิน (สปก.) นั้น เจ้าประคุณสมเด็จฯ (ครั้งยังดำรงสมศักดิ์ที่ พระเทพโมลี) ได้รับสิทธิบนที่ดินจากโยมถือสิทธิครอบครองอยู่จำนวน 100 ไร่ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นสถานที่ฝึกปฏิบัติกัมมัฏฐาน ก่อนจบการศึกษาของพระนักศึกษา สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ชั้นปีสุดท้าย ต่อมาพุทธบริษัทที่ทราบวัตถุประสงค์ และเคารพเลื่อมใสในเจ้าประคุณสมเด็จฯ จึงจัดซื้อสิทธิบนที่ดินถวายจนได้มีที่ดินประมาณ 1,200 ไร่

ปลายปี พ.ศ.2531 เจ้าประคุณสมเด็จฯ ดำเนินการก่อตั้งสำนักปฏิบัติธรรม มกุฏคีรีวัน และมอบให้ พระรัชมงคลวัฒน์ (สมคิด ภูริสสโม) เป็นผู้ดูแล

 prajuab16

พระมหาเจดีมกุฎคีรีวัน
(Source Pic: https://th.wikipedia.org)

พ.ศ.2533 เจ้าประคุณสมเด็จฯ พระญาณดิลก วิ. (ปัญญา สุทธายุตโต) สัทธิวิหาริกในเจ้าประคุณสมเด็จฯ ขณะเป็นนวกภิกษุเพิ่งบวชใหม่ ได้ขออนุญาตเจ้าประคุณ สมเด็จฯ มาจำพรรษาปฏิบัติธรรม ณ สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน เมื่อเจริญพรรษากาลมากขึ้น พระญาณดิลก จึงรับภาระดูแลสำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน สืบต่อจาก พระรัชมังคลวัฒน์

พ.ศ.2543 ม.ร.ว.ทรงวิทย์ ทวีวงศ์ อุบาสก สำนักปฏิบัติธรรมมกุฏคีรีวัน และกระทรวงศึกษาธิการ ด้วยความเห็นชอบของมหาเถรสมาคม ได้ประกาศให้ตั้งเป็นวัดในพระพุทธศาสนา เมื่อวันที่ 2 พฤษภาคม พ.ศ.2545 เจ้าประคุณสมเด็จฯ รับตำแหน่งเป็นรักษาการเจ้าอาวาสวัดมกุฏคีรีวัน ต่อมา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา กำหนดเขต กว้าง 24 เมตร ยาว 36 เมตร วันที่ 27 ธันวาคม พ.ศ.2545

วันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2546 เจ้าประคุณสมเด็จฯ ดำเนินการแต่งตั้ง พระญาณดิลก (ขณะดำรงสมศักดิ์ที่ พระครูวินัยธร) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดมกุฏคิรีวัน พระญาณดิลก ได้ดำเนินการพัฒนาวัดมกุฏคีรีวัน ตามวัตถุประสงค์ที่ เจ้าประคุณสมเด็จฯ กำหนดไว้ ดังนี้
1. เพื่อเป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมและปฏิบัติธรรมของพุทธศาสนิกชนคนทั่วไป
2. เพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติกัมมัฏฐานของพระนิสิตนักศึกษาจากสภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย มหาวิทยาลัยสงฆ์หนึ่งในสองแห่งของพระพุทธศาสนา
3. เพื่อเป็นสถานที่อบรมจริยธรรม ศีลธรรมของเยาวชน ข้าราชการ และประชาชนให้รู้ เข้าถึง และเข้าใจหลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
4. เพื่อเป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมและการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ
5. เพื่อเป็นสถานที่ศึกษาเกี่ยวกับดาราศาสตร์

ในปัจจุบัน วัดมกุฏคีรีวัน มีการก่อสร้าง อุโบสถวิหาร ศาลาการเปรียญ เสนาสนะ กุฏิ และเจดีย์เฉลิมพระเกียรติแด่ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เนื่องในวโรกาสมีพระชนมายุ 48 พรรษา โดยการจัดภูมิสถาปัตยฺให้กลมกลืนกับสภาพแวดล้อมซึ่งเป็นป่า ตลอดจนขยายไฟฟ้า น้ำประปา และถนนลาดยาง ทำให้วัดมกุฏคีรีวันเป็นพุทธศาสนสถานที่รื่นรมย์ ร่มเย็น มากไปด้วยพืชพันธุ์ไม้หลากหลายชนิด ทั้งที่เกิดโดยธรรมชาติ และการปลูกเพิ่มเติม เพื่อสร้างสภาพป่าธรรมชาติที่มีความสงบสงัด เหมาะแก่การปฏิบัติธรรม สมตามเจตนาปรารภใน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทุกประการ

นอกจากนี้ เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ยังได้บริหารงานที่เกี่ยวเนื่องกับสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฐายีมหาเถร) เช่น
-เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม สังกัดกรุงเทพมหานคร
-โรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ สังกัดกรมสามัญศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ ซึ่งโรงเรียนทั้ง 2 แห่งตั้งอยู่ในวัดมกุฏกษัตริยาราม เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้อนุเคราะห์จัดสรรทุนการศึกษาให้แก่นักเรียน ที่มีความประพฤติดี แต่ขาดทุนทรัพย์เป็นจำนวนมาก

วัดญาณรังษี รัฐเวอร์จีเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา

วัดญาณรังษีได้ก่อตั้งครั้งแรกเมื่อปี พ.ศ.2531 เดิมมีชื่อเป็นภาษาอังกฤษว่า Wat Yarnna Rangsee Foundation of U.S.A. Inc. ต่อมาภายหลังได้เปลี่ยนชื่อเป็น Wat Yarnna Rangsee Buddhist Monastery โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนคนไทย ในรัฐเวอร์จีเนีย แมรี่แลนด์ และ กรุงวอชิงตัน ดี.ซี. ตลอดจนถึงเป็นศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนาให้แก่ชาวไทย และชาวต่างประเทศ ดังมีประวัติย่อดังนี้

prajuab17
วัดญาณรังษี ปี พ.ศ.2531
(https://sutinaem.wordpress.com)

การก่อสร้างวัดญาณรังษี เมื่อประมาณเดือนมิถุนายน ปี พ.ศ.2531 เจ้าประคุณสมเด็จฯ (ครั้งดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมธัชมุนี) ในฐานะประธานกรรมการฝึกอบรมพระธรรมฑูตไปต่างประเทศ (ธ) พร้อมด้วยพระเถรานุเถระ ได้เดินทางไปประชุมสามัญประจำปี ครั้งที่ 4 พ.ศ.2531 ของคณะกรรมการสงฆ์คณะธรรมยุตในประเทศสหรัฐอเมริกา ณ วัดพุทธดัลลัส เมืองดัลลัส มลรัฐเท็กซัส โดยได้มีคณะพระเถรานุเถระที่เดินทางไปในครั้งนั้น จำนวน 7 รูป คือ (1). พระธรรมวราภรณ์ เจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส (2). พระธรรมธัชมุนี (ประจวบ กนฺตาจาโร) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, และรักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต (3). พระราชวราลังการ (สุวรรณ กญฺจโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม,
อาจารย์ใหญ่โรงเรียนวชิรมกุฏ (4). พระครูมนูธรรมรัตน์ (มนู ฐิตปญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม (5). พระครูสุภัทรสารโสภณ (ถวิล กนฺตสิริ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดราชาธิวาส (6). พระมหามงคล เปมสีโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามและรองคณะบดีบัณฑิตวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย (7). พระครูวินัยธร สมัย มเหสิโก เลขานุการวัดมกุฏกษัตริยาราม
หลังจากสิ้นสุดการประชุมแล้ว เจ้าประคุณสมเด็จฯ และคณะได้เดินทางไปรัฐเวอร์จีเนียตอนเหนือ เพื่อเยี่ยมคนไทยที่อาศัยอยู่กระจัดกระจายในเขตรัฐเวอร์จีเนีย แมรี่แลนด์ และกรุงวอชิงตัน ดี.ซี. เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ และคณะ ปฏิบัติศาสนกิจ ณ รัฐเวอร์จีเนียตอนเหนือแล้ว ทำให้อุบาสกอุบาสิกาในบริเวณนี้ อยากจะสร้างวัดขึ้น เพื่อเป็นศูนย์รวมจิตใจของคนไทยที่นับถือพระพุทธศาสนา เจ้าประคุณสมเด็จ เมื่อทราบความประสงค์ จึงเมตตารับเป็นผู้ก่อตั้งวัดนี้ขึ้น โดยให้คณะผู้ร่วมก่อตั้งจัดหาสถานที่สำหรับพระภิกษุสงฆ์มาพำนักและอยู่จำพรรษา และเพื่อให้บรรดาพุทธศาสนิกชนได้มีโอกาสในการบำเพ็ญบุญกุศล และประกอบพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนาต่อไป สำหรับผู้ร่วมก่อตั้งทั้งฝ่ายสงฆ์และฆราวาส ดังรายนามต่อไปนี้
1. พระธรรมธัชมุนี (ประจวบ กนฺตาจาโร) เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม, อธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย, และรักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
2. พระราชวราลังการ (สุวรรณ กญฺจโน) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
3. พระกิตติสารมุนี (บรรจง กลฺลิโต) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยารามอดีตรองอธิการบดีมหามกุฏราชวิทยาเขตวังน้อย
4. พระครูมนูธรรมรัตน์ (มนู ฐิตปญฺโญ) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
5. พระมหามงคล เปมสีโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
6. พระมหาสมพร กตวโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
7. พระมหาเชาวรา ธมฺมปุญฺโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธวงศ์ ซึ่งรับผิดชอบดูแลด้านงานเอกสาร

สำหรับฝ่ายฆราวาสที่ได้สนับสนุนสร้างวัดญาณรังษีได้เป็นกรรมการบริหารครั้งแรกมี 6 ท่าน คือ
1. Patapong Phumtim 2. Sunrisa Phumtim
3. Suwan richter 4. Sanong phumtim
5. Pornchai netatavichit 6. Huttata netayavichit

โดยได้ชื้อบ้านหลังเล็กๆ หลังหนึ่งเป็นวัดแห่งแรกในราคา $170000.00 เหรียญสหรัฐ ซึ่งตั้งอยู่เลขที่2932 ถนน Meadow Lane เมือง Fall Church มลรัฐ Virginia 22042 อาคารที่ตั้งวัดตั้งอยู่ในเนื้อที่ 200 ตารางวา มีห้องนอน 4 ห้อง ห้องน้ำ 3 ห้อง มีห้องรับแขก 2 ห้อง ได้ทำพิธีเปิดวัดอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 11 ธันวาคม พ.ศ.2531 โดยพระธรรมธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดมกุฎกษัตริยาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีท่านเอกอัครราชทูต วิทยา เวชชาชีวะ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส ภายใต้นามมงคลว่า “วัดญาณรังษี” อันหมายถึง รัศมีแห่งญาณคือความรู้ ได้มีพระสงฆ์มาพักอาศัยที่วัดแห่งนี้เป็นชุดแรกคือ
1. พระธรรมธัชมุนี พระธรรมธัชมุนี (ประจวบ กนฺตาจาโร)
2. พระครูใบฎีกา พิเชษฐ จิรายุโก อดีตผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง, เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณรังษี รูปที่ 1 และเป็นประธานสงฆ์
3. พระครูปลัด เจริญ คุณวฑฺโฒ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดเจดีย์หลวง
4. พระมหามงคล เปมสีโล ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
5. พระมหาเชาวรา ธมฺมปุญฺโญ ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดสัมพันธ์วงศ์
6. พระมหาสมพร กตวโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม
7. พระมหาบุญหนัก ชินวังสํโส สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม
8. พระมหาประเสริฐ ปสฏฺโฐ สังกัดวัดมกุฏกษัตริยาราม

หลังจากเปิดวัดญาณรังษีแห่งนี้แล้ว ก็ได้มีพระภิกษุเดินทางมาปฏิบัติศาสนกิจเพิ่มเติมในชุดที่ 2 ในปี พ.ศ.2532 คือ
1. พระครูเมธีธรรมธาดา (อนันต์ ญาณวีโร) อาจารย์ใหญ่มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (วัดชูจิต
ธรรมาราม) อ.วังน้อย จ.พระนครศรีอยุธยา
2. พระมหาปรีดี ปีติธโร สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม
3. พระมหาสุพล พลญาโณ สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม

ในปี พ.ศ.2533 ได้มีพระภิกษุเดินทางมาปฏิบัติศาสนากิจเพิ่มเติมในชุดที่ 3 คือ
1.พระมหาสำเริง ปหาโส สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม เป็นเจ้าอาวาส รูปที่ 2
2.พระมหาพันธ์ อคฺคพนฺโธ สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม
3 พระมหาราเชนทร์ ธมฺมรตโน สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม

หลังจากนั้น ได้มีพระภิกษุเดินทางมาปฏิบัติศาสนากิจเพิ่มเติมในชุดที่ 4 ในปี พ.ศ.2534 คือ
1.พระมหาสุชาติ ฐิตากาโร สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม มาเป็นเจ้าอาวาสรูปที่ 3
2.พระมหาพนมไพร คุ้มไพร สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม
3.พระอธิพร อธิวโร สังกัดวัดสระกะเทียม จ.นครปฐม
ต่อจากนั้นมา ได้มีการแต่งตั้งพระมหาสำเริง ปหาโส สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม ดำรงสมณะศักดิ์สุดท้ายที่พระวิบูลธรรมวิเทศ เป็นเจ้าอาวาสวัดญาณรังษี อีกวาระหนึ่ง
เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นองค์อุปถัมภ์ วัดญาณรังษี ทั้งเรื่องกำลังทรัพย์ และแนวทางการดำเนินงาน พร้อมทั้งยังได้จัดส่งพระภิกษุสงฆ์มาจำพรรษาที่วัดญาณรังษีแห่งนี้อย่างต่อเนื่อง ในลำดับต่อมาเมื่อมีพุทธบริษัทมาประกอบศาสนกิจมากขึ้นทางวัดจึงย้ายไปอยู่สถานที่แห่งใหม่นับเป็นแห่งที่สองตามมติของคณะกรรมการบริหาร วันที่ 12 มกราคม พ.ศ.2534 วัดญาณรังษีแห่งที่สองนั้น ตั้งอยู่ เลขที่1126 Chapel Road เมือง Fairfax มลรัฐ Virginia 22039 มีพื้นที่ 3 เอเคอร์ เป็นบ้านสามชั้นมี 6 ห้องนอน 4 ห้องน้ำ และได้ทำการเปิดป้ายเป็นทางการเมื่อวันที่ 9 มิถุนายน พ.ศ.2534 โดยมีพระธรรมธัชมุนี เจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ น.อ.แวน อานันต์ และน.อ.อนันต์ รอดสำคัญ เป็นประธานฝ่ายฆราวาส

prajuab18
วัดญาณรังษี พ.ศ.2534
(https://sutinaem.wordpress.com)

วัดญาณรังษี ก่อตั้งขึ้นในรูปแบบของมูลนิธิ โดยใช้ชื่อภาษาอังกฤษว่า Wat Yarnna Rangsee Foundation of U.S.A. Inc. นับตั้งแต่ก่อตั้งวัดญาณรังษี ขึ้นในปี พ.ศ.2531 เป็นต้นมา ได้เป็นศูนย์รวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนทั่วไป และเป็นที่รู้จักกันมากขึ้น มีพุทธศาสนิกชนไทยเดินทางไปทำบุญกันเป็นจำนวนมาก
วัดญาณรังษี ได้จัดกิจกรรมมากมายที่เป็นประโยชน์ต่อคนไทย และชาวต่างประเทศ เช่น เปิดโครงการสอนภาษาไทย (โดยมี ดร.พจนีย์ คำหนองแขม มาช่วยสอนในยุคแรกๆ), สอนรำไทย, เปิดโรงเรียนสอนพุทธศาสนาวันอาทิตย์, เปิดชมรมพุทธปัญญาเพื่อให้ศรัทธาญาติโยมมาปฏิบัติธรรมทุกวันอาทิตย์ และอบรมสมาธิแก่ชาวต่างชาติทุกวันอังคาร นอกจากนี้ วัดญาณรังษี ยังเป็นแหล่งเรียนรู้ทางพระพุทธศาสนา โดยมีนักเรียน, นักศึกษา ประชาชนทั่วไป (ชาวต่างชาติ) ได้มาศึกษาพระพุทธศาสนาทั้งเป็นกลุ่มคณะและเป็นการส่วนตัว ซึ่งถือว่า ได้สร้างประโยชน์แก่สาธารณชนเป็นจำนวนมาก
เนื่องจากวัดญาณรังษีแห่งที่สองนี้ได้มีการประกอบกิจกรรมอยู่เนือง ๆ แต่ไม่สามารถจะให้เป็นวัดโดยสมบูรณ์ เพราะที่ตั้งของวัดอยู่ในเขตที่อยู่อาศัยของชุมชน พระมหาสำเริง ปหาโส พร้อมด้วยคณะกรรมการของวัดมีความเห็นชอบที่จะย้ายไปอยู่สถานที่ตั้งแห่งใหม่เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคม พ.ศ.2539 ซึ่งตั้งอยู่เลขที่ 22147 Cedar Green Road เมือง Sterling มลรัฐ Virginia 20164 บนที่ดิน 3 เอเคอร์มีบ้านหนึ่งหลังประกอบด้วยห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 2 ห้อง ที่ซื้อมาในราคา $325,000.00 และหลังจากนั้นทางวัดได้ชื้อบ้านเพิ่มอีกหนึ่งหลังบนที่ดิน 1.3 เอเคอร์ ประกอบด้วย ห้องนอน 3 ห้อง ห้องน้ำ 1 ห้อง ในราคา $220,000.00 ตั้งอยู่เลขที่ 22177 Cedar Green Road. Sterling, Virginia 20164-9318 บ้านหลังแรกได้ปรับปรุงและพัฒนาภายในจาก 3 ห้องนอนเป็น 6 ห้องนอน ห้องน้ำ 2 ห้องเป็น 6 ห้อง ในเวลาต่อมา บ้านหลังที่สองซึ่งใช้ในการสอนวิปัสสนาได้รับการปรับปรุงจาก 3 ห้องนอน 1 ห้อง และปรับปรุงห้องน้ำให้เป็น 3 ห้อง ทั้งได้มีการทำรั้วเป็นอาณาเขตรอบทุกด้านของวัด จนกระทั้งถึงปี พ.ศ.2548 ทางอำเภอได้มีการตัดถนนเชื่อมกันด้านทิศตะวันออก ทำให้ชื่อถนนตลอดจนเลขที่บ้านเปลี่ยนไป บ้านหลังแรกเปลี่ยนจากเดิมเป็นเลขที่ 21950 Shaw Road. Sterling, Virginia 20164-9318 บ้านหลังที่สองเปลี่ยนจากเลขที่ 22177 Cedar green Road. Sterling, Virginia 20164-9318 เป็นเลขที่ 21916 Shaw Road. Sterling, Virginia 21640-9318 แต่พื้นที่คงอยู่ ณ ที่ตั้งเดิมทุกอย่าง สถานที่แห่งนี้ได้รับการปรับปรุงให้มีรั่วรอบทุกด้าน มีห้องเก็บของ 5 ห้อง มีโรงรถ 2 โรง มีหอระฆัง 1 หอ Deck 1 แห่ง มีศาลาเจ้าแม่กวนอิม 1 หลัง หลังจากที่วัดได้มีโครงการสร้างอุโบสถแต่มีอุปสรรคนานาประการโดยเฉพาะด้านทุนทรัพย์ แม้ว่าจะได้รับใบอนุญาตเลขที่ B6018968010 ตั้งแต่วันที่ 10 ตุลาคม พ.ศ.2549 กว่าจะเริ่มสร้างกันจริง จาก Grading permit เมื่อวันที่ 17 สิงหาคม พ.ศ.2552 จนกระทั่งการก่อสร้างสำเร็จและมีการตรวจสอบทุก ๆ ขั้นตอน สุดท้ายได้รับอนุญาตจากอำเภอให้ใช้อาคารที่สร้างเป็นหมายเลข O60189690101 เมื่อวันที่ 10 มกราคม พ.ศ.2554 โดยตัวอาคารอุโบสถ ตั้งอยู่เลขที่ 21944 Shaw Road. Sterling, Virginia 20164-9318 เป็นอุโบสถที่บริสุทธิ์ไม่มีห้องน้ำ ห้องอาหารหรือห้องพักอยู่ในตัวอาคารชั้นเดียวขนาดกว้าง 40 ฟุต และยาว 98 ฟุต สามารถรับรองคนเข้ามาพร้อมกันได้ไม่เกิน 250 คน โดยห้องน้ำให้ไปใช้ร่วมกับกุฏิที่พักอาศัยซึ่งมี่ห้องน้ำร่วมทั้งหมด 8 ห้อง โครงการสร้างอาคารอุโบสถหลังนี้ประกอบไปด้วยที่จอดรถถนนหน้าวัด ที่จอดรถหน้าวัด ที่จอดรถหลังวัด และสระน้ำหลังวัด ร่วมค่าก่อสร้างทั้งหมด $1,500,000.00 เมื่อกล่าวโดยร่วม ๆ ทุนทรัพย์ที่ก่อสร้างวัดตั้งแต่วัดแห่งที่หนึ่งถึงวัดแห่งที่สามตลอดจนการบริหารการบำรุงรักษาเป็นรายได้ที่รับบริจาคจากพุทธศาสนิกชนที่อยู่ในอเมริกาเป็นส่วนใหญ่

prajuab19

วัดญาณรังษี พ.ศ.2539
(Samwongklom Published on Sep 2, 2010, https://www.youtube.com)


เมื่อประมวลเหตุการณ์ที่ผ่านมาสามารถสรุปได้ว่า วัดแห่งที่สามนี้มีพระภิกษุจำพรรษาแต่ละพรรษาไม่น้อยกว่า 5 รูปทุกปี และมีพระภิกษุที่เคยมาจำพรรษาดังมีรายนามต่อไปนี้
1. พระมหาสำเริง ปหาโส ดำรงสมณะศักดิ์สุดท้ายที่ พระวิบูลธรรมวิเทศ
2. พระครูสังฆรักษ์ คำพอง ปญฺญาวุโธ ดำรงสมณะศักดิ์ปัจจุบันที่ พระครูมงคลญาณ
ปัจจุบันย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดป่านานาชาติ
3. พระครูปลัด เฉลิมชัย ติกฺขปญฺโญ ปัจจุบันย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปุญญวนาราม
4. พระประทีป ทีปธมฺโม อดีตเจ้าอาวาสวัดเชิงเลน
5. พระบุญชัย สังกัดวัดถ้ำกองเพล
6. พระครูสมุห์ อุดม อุตฺตมสีโล ดำรงสมณะศักดิ์ปัจจุบันที่ พระครูสิริธรรมวิเทศ
เจ้าอาวาสวัดญาณรังษี รูปที่ 4
7. พระอรุณ ปภากโร สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม
8. พระสุวิทย์ อคฺควิชฺโช สังกัดวัดเขาสุกิม
9. พระปลัด สัญญา อธิปญฺโญ สังกัดวัดสระกะเทียม
10. พระสมหมาย นิลฺมโล สังกัดวัดเขาสุกิม ดำรงสมณะศักดิ์ปัจจุบันที่ พระครูวินัยวิเทศปฎิภาณ ปัจจุบันย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดเจ็คสันวิลวนาราม
11. พระธีระ ธมฺมธีโร สังกัดวัดสระกะเทียม
ปัจจุบันย้ายไปดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดสันติธรรม ประเทศอังกฤษ
12. พระวินัย ฌานคฺโค สังกัดวัดเขาสุกิม ปัจจุบันออกไปประกอบสัมมาอาชีวะ
13. พระปลัด ธรรมรินทร์ วรธมฺโม สังกัดวัดสันติธรรม ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำอยู่ที่
ประเทศอังกฤษ
14. พระสมุห์ สถิต ธมฺมปาโล กลับไปเป็นเจ้าสำนักสงฆ์ที่จังหวัดกาญจนบุรี
15. พระมหาชัยนาญ กิตฺติปญฺโญ ปัจจุบันเป็นพระธรรมทูตประจำอยู่ที่วัดวอชิงตันพุทธวนาราม
16. พระอำนวย ปภาโส สังกัดวัดสระกะเทียม ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
17. พระใบฎีกา สกล สนฺตจิตฺโต สังกัดวัดสุวรรณจินดาราม
18. พระมหาภาสกร ปญฺญาธีโร สังกัดวัดพุทธบูชา
19. พระสมชาย ถาวโร สังกัดวัดสันติธรรม ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
20. พระมหาพฤฒิเชษฐ์ ภทฺราวุโธ สังกัดวัดบวรมงคล ปัจจุบันเป็นผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดญาณรังษี และรองประธานกรรมการบริหารวัดญาณรังษี
21. พระผดุงศักดิ์ ปุญฺญมโน สังกัดวัดอิสสธรรม ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำอยู่ที่วัดป่าเทศรังสี
22. พระถนอม เขมโก สังกัดวัดสันติธรรม ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
23. พระครูสุชาติกาญจนโกศล ชยวฑฺโฒ สังกัดวัดพุทธมณฑลอรัญญิกาวาส
ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
24. พระพงศ์วัฒน์ ปญฺญวโร สังกัดวัดรัตนวราราม ปัจจุบันออกไปประกอบสัมมาชีวะ
25. พระสิริรัฐพงศ์ ภาณโก สังกัดวัดวรดิศถาราม ปัจจุบันเป็นเจ้าสำนักสงฆ์อยู่ที่รัฐโอไฮโอ
26. พระมหาถนอม พุทธรกฺขิโต สังกัดวัดสำราญนิวาส ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
27. พระบุญฑริก ปณีตธมฺโม สังกัดวัดเหนือ ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
28. พระสัญญา ญาณปญฺญาวโร สังกัดวัดช่องลม ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
29. พระสุรจิตร อติวิจิตฺโต สังกัดวัดชูจิตธรรมาราม ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำอยู่
วัดป่าธรรมชาติ
30. ดร.พระมหาประคอง อตฺถกาโร สังกัดวัดนิเวศธรรมประวัติ
31. พระสอน กุศโล สังกัดวัดพระศรีมหาธาตุ ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
32. พระครูประกาศพุทธพากย์ (สมพร กตวโร) สังกัดวัดมกุฏกษัตริยาราม
ปัจจุบันกลับไปจำพรรษาที่วัดต้นสังกัด
33. พระมหาลำพันธ์ ฐิตรตโน สังกัดวัดพุทธบูชา ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำวัดป่านานาชาติ
34. พระครูวิจิตรการโกศล (อิทธิพล ฐิตธมฺโม) สังกัดวัดเสนหา
ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำวัดญาณรังษี
35. พระวิสุทธิวัฒน์ วรปญฺโญ สังกัดวัดป่าหลวงตาบัวญาณสัมปันโน
ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำวัดญาณรังษี
36. พระประพัฒน์ อจโล สังกัดวัดคลองมะลิ ปัจจุบันเป็นธรรมทูตประจำวัดญาณรังษี

ตลอดระยะเวลาที่วัดญาณรังษี ก่อตั้งมาได้มีเลขานุการวัดเปลี่ยนมาแล้ว 5 ท่าน ดังนี้
1. คุณริชาร์ด ชาร์ดี
2. James Rogers
3. คุณธีรวุฒิ ธัญญวัฒนน์โภคิน
4. คุณประวิณ ศรีสัจจากุล
5. คุณอนุพันธ์ เผือนพิภพ

มีเหรัญญิกมาแล้ว 4 ท่าน คือ
1. คุณกุณฑรีย์ ยงหวาน
2. คุณนิพรรณ พริ้งประยูร
3. คุณละอองทิพย์ ธูปเทียน
4. คุณไตร พรมะแข้

มีประธานกรรมการบริหารมาแล้ว 1 ท่าน 2 รูป คือ
1. คุณณรงค์ ตั้งใจรบ
2. พระมหาสำเริง วงกล่อม
3. พระครูวินัยธร อุดม สมณะ

วัดญาณมีเจ้าอาวาสมาแล้ว 4 รูป ดังนี้
1. พระครูใบฎีกา พิเชฏฐ์ จิรายุโก
2. พระมหาสำเริง มหาโส ดำรงสมณะศักดิ์สุดท้ายที่ พระวิบูลธรรมวิเทศ
3. พระมหาสุชาติ อ่อนสร้อย
4. พระครูวินัยธร อุดม อุตฺตมสีโล ดำรงสมณะศักดิ์ปัจจุบันที่พระครูสิริธรรมวิเทศ เจ้าอาวาสวัดญาณรังษี ในปัจจุบัน

หลังจากสร้างอุโบสถสำเร็จแล้วได้ใช้เป็นสถานที่ทำการเผยแผ่พระพุทธศาสนา โดยมีการใช้ประโยชน์จากอุโบสถดังต่อไปนี้
1. ใช้เป็นสถานที่ สำหรับพระสงฆ์ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนา เช่น ลงอุโบสถฟังพระปาฏิโมกข์ ทุก 15 วัน ประกอบพิธีปวารณาเข้าพรรษาและออกพรรษา ตลอดจนเป็นสถานที่ทำวัตรเช้า - ทำวัตรเย็น
2.ใช้เป็นสถานที่ สำหรับสาธุชนประกอบพิธีในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น งานวันมาฆบูชา งานวันวิสาขบูชา และงานวันอาสาฬหบูชา และงานทอดกฐินประจำปี วันสงกรานต์ เป็นต้น
3.ใช้เป็นสถานที่ เพื่ออำนวยความสะดวกให้แก่สาธุชน ในการจัดงานวันคล้ายวันเกิด งานแต่งงาน งานทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษผู้ล่วงลับไปแล้ว
4. ใช้เป็นสถานที่ สวดมนต์เจริญภาวนาของชมรมพุทธปัญญา ทุกวันอาทิตย์
5. ใช้เป็นสถานที่ ดำเนินการเรียนการสอนธรรมศึกษาชั้น ตรี โท เอก
6. ใช้เป็นสถานที่ ในการฝึกสอนรำไทย และให้ความรู้ด้านภาษาไทยแก่เยาวชนที่สนใจเรียนรู้
7. ใช้เป็นสถานที่ ส่งเสริมการอบรมสมาธิแก่ชาวต่างประเทศทั่วไป
8. ใช้เป็นสถานที่ จัดกิจกรรมเพื่อการอนุรักษ์ประเพณีที่ดีงามของไทย
เช่น งานวันพ่อแห่งชาติ งานวันแม่แห่งชาติ งานวันสงกรานต์ และงานวันลอยกระทง เป็นต้น
9. ใช้เป็นสถานที่ ฝึกอบรม CPR-AED เพื่อปฐมพยาบาลผู้ป่วยที่ประสพภาวะหัวใจล้มเหลวในทุกวันเสาร์
10. สนับสนุนกิจกรรมของทางสถานทูตไทย เช่น กงสุลสัญจร เพื่อประกอบนิติกรรมนอกสถานกงสุล
เมื่อเห็นว่าวัดญาณรังษีแห่งนี้มีหลักฐานใบก่อตั้งวัด พ.ศ.2532 และใบอนุญาตให้สร้างอาคารอุโบสถตั้งแต่ พ.ศ.2549 หลังจากได้เริ่มการก่อสร้างเมื่อปลายปี พ.ศ.2552 และสำเร็จตามกำหนดเวลา หลังจากนั้นทางราชการตรวจสอบแล้วอนุญาตให้ใช้สถานที่ประกอบกิจกรรมได้ตั้งแต่วันที่ 10 ม.ค. 2554 จากอำเภอ Loudoun. เป็นทีน่าภูมิใจที่ชุมชนในสหรัฐอเมริกาได้ช่วยเหลืองานสร้างอุโบสถสำเร็จลงได้ด้วยทุนทรัพย์จากพุทธศาสนิกชนในประเทศนี้เป็นหลัก เมื่อองค์ประกอบทุกอย่างครบสมบูรณ์ วัดญาณรังษีจึงได้รับมติให้เป็นเจ้าภาพจัดการประชุมคณะสงฆ์ธรรมยุตสามัญประจำปีครั้งที่ 31/2558 พร้อมได้จัดงานผูกพัทธสีมาปิดทองฝังลูกนิมิต เพื่อให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติการปกครองคณะสงฆ์ธรรมยุต ต่อไป.

(ขอบคุณข้อมูลบางส่วนจาก พระครูสิริธรรมวิเทศ เจ้าอาวาสและประธานกรรมการบริหารวัดญาณรังษี)
http://mua0.blogspot.com/2015/12/wat-yarnnarangsee-usa.html

นอกจากนี้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังบำเพ็ญกุศลสาธารณชน อาทิ เช่น เป็นรองประธานกรรมการมูลนิธิส่งเสริมกิจการศาสนาและมนุษยธรรม (ก.ศ.ม.) โดยปัจจุบันมีสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช สกลมหาสังฆปริณายก ทรงพระเมตตาเป็นองค์ประธาน มีสำนักงานอยู่ด้านข้างวัดมกุฏกษัตริยาราม ทางทิศตะวันตก มีหน้าที่ออกนิตยสาร รายสองเดือน คือ นิตยสาร “ศุภมิตร” ซึ่งมีคุณมนูญ ธารานุมาศ เป็นบรรณาธิการ
-เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิสงเคราห์คนเป็นโรคเรื้อน ในสังฆราชูปถัมภ์ มีสำนักงานอยู่ที่ตึกกรุณานิมิต ด้านหลังวัดมกุฏกษัตริยาราม ลักษณะเป็นสถานบำบัดโรคผิวหนังของกรมอนามัย กระทรวงสาธารณสุข

ตำแหน่งงานด้านบริหารการศึกษา

เป็นครูสอนพระปริยัติธรรม วัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นกรรมการตรวจธรรมสนามหลวง
เป็นเจ้าสำนักเรียนพระปริยัติธรรม วัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นผู้อุปถัมภ์โรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นผู้ก่อตั้งโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกธรรมบาลีและแผนกสามัญศึกษา มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย วิทยาเขตมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
เป็นผู้จัดการโรงเรียนพระปริยัติธรรม แผนกสามัญศึกษา วัดมกุฏกษัตริยาราม
เป็นกรรมการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
เป็นกรรมการมูลนิธิสิรินธร
เป็นผู้จัดการโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
เป็นผู้จัดการโรงเรียนมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย 2 (วัดไผ่ดำ)
เป็นอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย

ด้านต่างประเทศ
งานเผยแผ่พระพุทธศาสนาในต่างประเทศโดยจัดตั้งสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
ดำรงตำแหน่งเป็นประธานกรรมการบริหารสำนักฝึกอบรมพระธรรมทูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) โดยมอบให้มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย เป็นหน่วยงานบริหารกิจการมาจนถึงปัจจุบัน
เดินทางไปดูการพระพุทธศาสนา ณ ประเทศอินเดีย (ก่อนและหลังการเดินทางไปศึกษา)
เดินทางไปร่วมฉลองพุทธชยันติ ณ ประเทศญี่ปุ่น และไปเยี่ยมทหารไทยที่ประเทศเกาหลี กลับมาแวะดูการพระศาสนาที่ฮ่องกงและประเทศเวียดนาม
เดินทางไปร่วมประชุมสงฆ์คณะธรรมยุต ที่ประเทศสหรัฐอเมริกา เป็นประจำปี
เป็นผู้เริ่มก่อตั้งวัดญาณรังษี ที่รัฐเวอร์จิเนีย ประเทศสหรัฐอเมริกา
เดินทางดูการพระพุทธศาสนา ที่ประเทศฝรั่งเศส ประเทศเดนมาร์กและประเทศนอร์เว
เดินทางดูการพระพุทธศาสนาที่ประเทศอินโดนีเซีย
เดินทางดูการพระศาสนาที่ประเทศไต้หวัน

ด้านการเผยแผ่
แม้งานในวัดมกุฏกษัตริยารามจะมีมากเพียงใด เจ้าประคุณสมเด็จฯ ก็ยังบริหารเวลาให้สามารถปฏิบัติปฏิบัติศาสนกิจ ณ สภาการศึกษามหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งแต่ดำรงตำแหน่งรองเลขาธิการ เลขาธิการ และอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ย่อมเป็นผลงานที่แสดงให้เห็นถึงประสิทธิภาพในการบริหารได้เป็นอย่างดี
งานพระธรรมฑูตของคณะธรรมยุต ในยุคที่เจ้าประคุณสมเด็จ เป็นประธานกรรมการบริหาร ก็มีการอบรมพัฒนาคุณภาพพระธรรมฑูต ทำให้งานพระธรรมฑูตสามารถดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิผล สามารถเพิ่มจำนวนวัดธรรมยุตในต่างประเทศได้เพิ่มมากขึ้น เผยแผ่พระสัทธรรมให้แพร่หลายไปในหลายประเทศ สามารถจัดการประชุมประจำปีได้เสมอมา เจ้าประคุณสมเด็จ ได้สร้างวัดญาณรังษี ไว้เป็นพุทธสถานรวมจิตใจของพุทธศาสนิกชนชาวไทย นอกจากนี้ ยังมีภารกิจที่วัดมกุฏกษัตริยารามอีกเป็นจำนวนมาก เช่น แสดงธรรมในวันพระ แสดงธรรมอบรมประชาชน ข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน นักศึกษาแสดงธรรมทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทย กรมประชาสัมพันธ์ และทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เป็นครั้งคราว และเป็นคณะกรรมการฝ่ายเผยแผ่พระพุทธศาสนาของมหาเถรสมาคม

ด้านการบริหารงาน

ด้านสาธารณูปการ
ตั้งแต่เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ ปี พ.ศ.2517 เป็นต้นมา จนถึงปัจจุบัน เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้บูรณปฏิสังขรณ์และก่อสร้างอาคารถาวรวัตถุภายในวัดมกุฏกษัตริยาราม อย่างต่อเนื่อง ดังมีรายละเอียดดังนี้ คือ
ช่วงที่ 1 ระหว่างปี พศ.2517 – 2540
1. ดำเนินการจัดผลประโยชน์ที่ดินของวัดให้เป็นระเบียบเรียบร้อย มีการรื้ออาคารบ้านเก่าที่ชำรุดทรุดโทรม และหมดสัญญาเช่า แล้วให้ก่อสร้างขึ้นใหม่ ดังปรากฏในปัจจุบัน
2. ก่อสร้างอาคารทรงไทยประยุกต์ เป็นอาคาร 3 ชั้น ขึ้นนใหม่ ในพื้นที่ส่วนกลางของคณะกลางเดิม โดยรื้ออาคารเก่าบางส่วนออก เพื่อใช้เป็นอาคารพิพิธภัณฑ์ของวัด สิ้นค่าก่อสร้างประมาณ 25 ล้านบาท ในขณะเดียวกันก็ปฏิสังขรณ์กุฏิเก่าในคณะกลาง โดยกระเทาะฝาผนังฉาบปูนใหม่ เปลี่ยนโครงสร้างหลังคาและมุงกระเบื้องใหม่
3. ทาสีทององค์พระเจดีย์ทั้งองค์ ซึ่งเดิมทีเดียวเป็นพระเจดีย์ก่ออิฐถือปูน ได้บูรณะโดยขัดผิว ทำความสะอาดใหม่ ลงน้ำยากันชื้นทาสีเหลือง 3 ครั้ง แล้วจึงทาสีทองอย่างดีอีกหลายครั้ง ตกแต่งให้สวยงาม
4. พระประธาน บุษบก และซุ้มพระประธานในวิหาร ให้ช่างลงรักปิดทองใหม่ เพื่อให้สีสดใสสวยงาม
5. การปรับปรุงภูมิทัศน์ของวัด มีการปรับปรุงทางเท้าและริมบาทวิถี ทาสีกำแพงวัดใหม่ ถมที่บริเวณลานจอดรถหน้าวัดและเทลาดด้วยซีเมนต์
6. จัดระบบสุขาภิบาลภายในวัด สร้างห้องสุขาให้เพียงพอแก่จำนวนประชาชนที่มาร่วมบำเพ็ญกุศลในโอกาสต่างๆ ดูแลความสะอาด ปลูกและตกแต่งต้นไม้ให้ร่มรื่น จัดแบ่งสัดสาวนของวัดให้เป็นเขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส เขตการศึกษาพระปริยัติธรรมของพระภิกษุสามเณร และเขตการศึกษาโรงเรียนประถมและมัธยมให้เป็นระเบียบเรียบร้อย
ช่วงที่ 2 ระหว่างปี พ.ศ.2546-2550
1. การบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ (พ.ศ.2546-2547) ทำการปรับปรุงฝ้าเพดาน ฝาผนัง เสาพระอุโบสถ พนักระเบียง ซ่อมแซมประตูหน้าต่าง พื้นและบันได กำแพงแก้ว ซุ้มเสมา รื้อส่วนที่ชำรุดและสร้างขึ้นใหม่ โดยอนุรักษ์ตามรูปแบบแผนผัง และลักษณะของแท้ดั้งเดิมไว้ให้มากที่สุด เท่าที่มีข้อมูลและหลักฐานยืนยัน ทั้งทางด้านรูปแบบศิลปสถาปัตยกรรม และทางด้านคุณค่าความเป็นศาสนสถาน ตามพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว นอกจากนี้ ยังได้ปรับปรุงส่วนที่เก็บอัฐิบริเวณผนังด้านหน้าพระอุโบสถ และซ่อมแซมจิตรกรรมฝาผนังภายในพระอุโบสถทั้ง 4 ด้าน รวมถึงผนังส่วนบนเหนือกรอบหน้าต่าง ซึ่งแต่เดิมเขียนเป็นประวัติอัครสาวก 11 องค์ ส่วนผนังระหว่างช่องหน้าต่าง เขียนประวัติพระอัครสาวก 9 องค์ บานประตูหน้าต่างด้านในเขียนพระสูตร ที่เป็นคาถาด้วยอักษรขอมบรรจง รวมทั้งคาถาธรรมบทบางวรรค และโสฬสปัญหา ที่อยู่ในสภาพชำรุด ผนังโป่งพอง และสมควรได้รับการอนุรักษ์ โดยคงให้รักษารูปแบบจิตรกรรมเดิมไว้ให้มากที่สุด เพื่อให้อยู่ในสภาพที่มั่นคงแข็งแรง และเพื่อส่งเสริม เผยแพร่ พัฒนาคุณค่าจิตรกรรมฝาผนังแห่งนี้ ให้เกิดปรโยชน์ทางเศรษฐกิจ สังคม และศิลปวัฒนธรรมของชาติต่อไป
2. การบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์ (พ.ศ.2547) ได้ทำการปิดทองมงกุฏสำริดยอดพระเจดีย์ใหม่ ทั้งยังซ่อมแซมซุ้มประดิษฐานพระบรมรูปและซุ้มพระให้สวยงาม
3. การบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหาร (พ.ศ.2549-2550) รื้อกระเบื้องหลังคาพระวิหารที่ชำรุดออก เพื่อเปลี่ยนใหม่ ทำระบบกันซึมใต้หลังคา ซ่อมแซมฝาผนังพระวิหารที่เสียหาย ซ่อมแซมเสาพนักระเบียง ประตู หน้าต่าง ตลอดจนปรับปรุงพื้นและบันได และระบบไฟฟ้าใหม่ทั้งหมด รวมถึงซ่อมแซมส่วนประดับตกแต่งเครื่องลำยองและหน้าบันพระวิหาร ซึ่งเดิมทำเป็นลายกนกล้อมมหามงกุฏ ส่วนบนเป็นปูนปั้นหัวนาคและตัวนาคแทนช่อฟ้าใบระกาให้ดีเหมือนเดิม นอกจากนี้ ส่วนที่เป็นจิตรกรรมฝาผนังและพระบรมฉายาลักษณ์ขนาดย่อมของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าฯ รวมถึงจิตรกรรมลาดทองรดน้ำภาพพุทธประวัติตอนตรัสรู้ และแสดงพระธัมมจักรกัปปวัตตนสูตร ด้านหลังพระวิหารที่ชำรุดนั้น ก็มีการซ่อมแซมส่วนที่ชำรุดเสียหายให้กลับมาวิจิตรตระการตาและเป็นประโยชน์ ยังคุณค่าทางศิลปกรรมไว้ดุจเดิม
4. การบูรณปฏิสังขรณ์พระระเบียงวิหารคด (พ.ศ.2549-2550) ซึ่งเป็นส่วนต่อเชื่อมกับพระวิหารออกไปโดยรอบ ได้รื้อหลังคาส่วนที่ชำรุด และทำฝ้าเพดานขึ้นใหม่ ซ่อมแซมเสา ห้องเฟี้ยม และซ่อมส่วนที่เป็นฐานพระทั้งหมด ทั้งยังปรับปรุงบริเวณพื้นและระบบไฟฟ้า และเสริมฐานรากให้มั่นคงแข็งแรงด้วย รวมถึงซ่อมแซมพรุพทธรูปรอบพระระเบียงเพื่ออนุรักษ์ของเดิมเอาไว้
5. งานบูรณปฏิสังขรณ์ซุ้มประตู และกำแพง ได้ทำการซ่อมแซมส่วนที่เป็นซุ้มประตู และกำแพงโดยรอบส่วนพุทธาวาสทั้งหมด เพื่อให้แข็งแรงและสวยงาม
6. งานอนุรักษ์ภูมิทัศน์ประวัติศาสตร์และปรับปรุงภูมิทัศน์ภายในเขตพุทธาวาส โดยปรับปรุงทั้งงานพื้นบริเวณรอบพระอุโบสถ ระบบระบายน้ำ ระบบไฟฟ้าทั้งหมด รวมไปถึงกุฏิลำดวน ส่วนภายในพระระเบียง ได้รื้อย้ายต้นไม้ใหญ่ รื้อห้องน้ำ และศาลาส่วนที่ไม่จำเป็นออกไป ฟื้นฟูสภาพต้นไม้ดั้งเดิม จัดวางตุ๊กตาหิน และปลูกต้นไม้ทดแทนขึ้นใหม่เพื่อให้ภูมิทัศน์โดยรอบทั้งในและนอกเขตพุทธาวาสให้สะอาดร่มรื่นสวยงาม ส่วนด้านนอกพระวิหารและระเบียง ได้ทำการบูรณะแท่นหิน และกำแพงแก้วหน้าพระวิหาร ปรับปรุงระบบระบายน้ำและระบบไฟฟ้าที่ชำรุดเสียหายทั้งหมด เพื่อให้กลมกลืนกับภูมิสถาปัตย์อื่นๆ
7. งานปรับปรุงด้านนอกส่วนพุทธาวาสอื่นๆ ที่มีผลต่อสภาพภูมิทัศน์
8. งานปรับปรุงภูมิทัศน์บริเวณลานหน้าวัดทั้งหมด
9. งานปรับปรุงส่วนสังฆาวาส มีการปรับปรุงระบบไฟฟ้าทั้งในเขตสังฆาวาสและเขตฌาปนสถานทั้งหมด ทำการปรับปรุงระบบสื่อสาร ระบบเสียงตามสาย กล้องวงจรปิด ระบบระบายน้ำ รวมถึงจัดทำภูมิ สถาปัตย์ทั้งในเขตสังฆาวาสและเขตฌาปนสถาน

prajuab21
พระวิหารใหญ่ วัดมกุฏกษัตริยาราม
(Source Pic: https://th.wikipedia.org)


ปัจจุบันนี้ งานก่อสร้างและปฏิสังขรณ์และอนุรักษ์วัดมกุฏกษัตริยารามทั้งหมดได้สำเร็จเรียบร้อย สมความมุ่งมาดปรารถนาของเจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีความมั่นคงสง่างามสมเป็นพุทธศาสนสถานและสมคุณค่าแห่งความเป็นมรดกของชาติอย่างแท้จริงแล้ว
นอกจากนี้ ยังได้ก่อสร้างอาคารเรียน อาคารที่พักอาศัย อุโบสถ หอประชุม ที่มหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (วัดชูจิตธรรมาราม) ตำบลสนับทึบ อำเภอวังน้อย จังหวัดพระนครศรีอยุธยา รวมจำนวน ๑๐๐ หลัง*

ก่อสร้างศาลาการเปรียญและกุฏิที่พักอาศัยที่สำนักปฏิบัติธรรม “วัดมกุฎคีรีวัน” ตำบลโป่งตาลอง อำเภอปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา จำนวน ๒๘ หลังให้ความอนุเคราะห์ในการก่อสร้างโรงพยาบาลบางแพ จังหวัดราชบุรี

ศึกษาต่อระดับปริญญาเอก
ด้วยสรรพผลงานที่เด่นชัด วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2528 พระเทพโมลี ได้รับพระราชทานเลื่อนสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะชั้นธรรม ที่ พระธรรมธัชมุนี
มีเหตุการณ์หนึ่งที่แสดงถึงความเป็นผู้ใฝ่ใจในการศึกษา ที่ควรแก่การบันทึก คือ เมื่อตอนต้นปี พ.ศ.2528 Professor S.S.Rama, Head of Department of Philosophy แห่งมหาวิทยาลัยพาราณสี เดินทางไปประชุมที่สหรัฐอเมริกา ขณะเดินทางกลับได้แวะประเทศไทย คณะศิษย์ของท่านต้องการจะแสดงปฏิการคุณต่ออาจารย์ จึงกราบเรียนแจ้งให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทราบ เจ้าประคุณสมเด็จ จึงรับภาระในการอุปถัมภ์
Professor S.S.Rama ขณะที่พักในประเทศไทย Professor S.S.Rama ซาบซึ้งในมิตรไมตรีแห่งเจ้าประคุณฯ เป็นอย่างยิ่ง เมื่อทราบว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ เคยเสนอวิทยานิพนธ์ปริญญาเอกไว้ที่มหาวิทยาลัยพาราณสี เนื่องจากติดภารกิจในประเทศไทย ทำให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่สามารถติดตามผลการเสนอวิทยานิพนธ์ได้ เป็นเหตุให้ขาดการประสานงานติดต่อกับ Professor S.S.Rama เมื่อกลับมาถึงมหาวิทยาลัย จึงติดตามเรื่อง และนำวิทยานิพนธ์มาพิจารณาใหม่ และแจ้งให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ทราบว่าโครงการนี้ดีขึ้นแล้ว เพียงแต่ปรับปรุงสำนวนภาษาอังกฤษให้รัดกุมกับปรับปรุงเนื้อหาอีกเล็กน้อย พร้อมทั้งขอให้เจ้าประคุณสมเด็จฯ ติดต่อมหาวิทยาลัย เพื่อขอปรับปรุงวิทยานิพนธ์เพื่อให้สำเร็จตามหลักสูตร

prajuab22   prajuab23

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้แจ้ง Professor S.S.Rama  ว่า บัดนี้ เป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นอธิการบดีมหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย แล้ว มีภารกิจมาก จะไปทำวิทยานิพนธ์เหมือนนักศึกษาคงไม่สะดวก

Professor S.S.Rama แจ้งกลับมาว่า ขอให้ดำเนินการรักษาสถานภาพนักศึกษาแล้วไปอยู่ในช่วงแรกสัก 2-3 เดือนก่อน ต่อจากนั้นก็เดินทางไปมาระหว่างประเทศไทยกับประเทศอินเดีย ปีละ 2-3 ครั้ง ครั้งละ 1-2 สัปดาห์ จะทำให้สามารถศึกษา และปฏิบัติหน้าที่ประจำได้สะดวก
เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เดินทางไปมหาวิทยาลัยพาราณสี เพื่อดำเนินการตามคำแนะนำของ Professor S.S.Rama และใช้เวลาระหว่าง พ.ศ.2528-2529 ปรับปรุงวิทยานิพนธ์จนนำเสนอวิทยานิพนธ์ผ่านการตัดสินของมหาวิทยาลัย สำเร็จตามหลักสูตร ได้รับปริญญาเอก สาขาวิชาปรัชญา (Doctor of Philosophy) ได้รับประสาทปริญญา เมื่อ พ.ศ.2530 เมื่ออายุ 60 ปีบริบูรณ์ ขณะดำรงสมณศักดิ์ ที่ พระธรรมธัชมุนี

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้พูดถึงการกลับมาเป็นนักศึกษาใหม่ว่า “ยอมรับว่า เรานะแก่แล้ว แต่ใจมันยังสู้ ขอลองอีกที ภาษิตเขาก็มีว่า ไม่มีใครแก่เกินเรียน”
ด้วยสรรพกรณียกิจดังพรรณามา ทำให้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีความเจริญในสมณศักดิ์ ดังนี้

วันที่ 5 ธันวาคม พ.ศ.2536 พระธรรมธัชมุนี รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์เป็นพระราชาคณะ เจ้าคณะรอง ที่ พระธรรมปัญญาจารย์
และวันที่ 5 ธัยวาคม พ.ศ.2543 พระธรรมปัญญาจารย์ รับพระราชทานสถาปนาสมณศักดิ์ เป็นสมเด็จพระราชาคณะที่ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ มีความจารึกในสุพรรณบัตรตอนหนึ่งว่า
“......พระธรรมปัญญาจารย์ ยิ่งเจริญด้วยอุตสาหวิริยาธิคุณ มิได้ท้อถอย สามารถประกอบพุทธศาสนกิจให้เจริญก้าวหน้ายิ่งขึ้นโดยลำดับ กล่าวคือยังดำรงตำแหน่ง และปฏิบัติงานในหน้าที่สำคัญ อาทิ เป็นเจ้าอาวาสวัดมกุฏกษัตริยาราม เป็นพระอุปัชฌาย์ และเป็นกรรมการมหาเถรสมาคม มีผลงานจัดระเบียบ และส่งเสริมงานพัฒนาคณะสงฆ์ในส่วนที่เกี่ยวข้องได้เรียบร้อยตลอดมา

ด้านการศึกษา ได้ให้ความเอาใจใส่การศึกษาของคฤหัสถ์และบรรพชิตเป็นพิเศษ ด้วยเชื่อมั่นว่าจะส่งเสริมให้เกิดความเจริญในด้านต่างๆ ได้ดียิ่งขึ้น มีอุตสาหะรับเป็นอุทเทศาจารย์ในตำแหน่งเจ้าสำนักเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม มีเมตตาให้การอบรมสั่งสอนชี้แนะในฐานะครู ด้วยการปฏิบัตินำเป็นตัวอย่างที่ดีแก่พระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนทั่วไป ให้ความสนใจสนับสนุนส่งเสริม ตลอดทั้งให้การอุปถัมภ์การศึกษาพระปริยัติธรรมแผนกธรรมและบาลี แก่พระภิกษุสามเณรในสำนักเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม ให้เจริญก้าวหน้าทั้งปริมาณ และคุณภาพ ในฐานะอธิการบดีมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน พ.ศ.2541 ผู้ก่อตั้ง และประธานกรรมการอำนวยการมูลนิธิปุญญานุภาพเพื่อมหาวิทยามหามกุฏราชวิทยาลัย และประธานมูลนิธิมหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย ได้ใส่ใจพัฒนาและบริหารกิจการของมหาวิทยาลัย ทั้งในส่วนกลางและวิทยาเขต มุ่งสู่ความเป็นเลิศและสถิตสถาพรยิ่งขึ้น ให้ความอุปถัมภ์การเรียนการสอนของนักเรียนในโรงเรียนวัดมกุฏกษัตริยาราม สังกัดกรุงเทพมหานคร และโรงเรียนมัธยมวัดมกุฏกษัตริย์ สังกัดกรมสามัญศึกษา อย่างสม่ำเสมอ เพื่อมุ่งหมายให้นักเรียนเหล่านั้น เป็นผู้มีวิทยาสามารถ และมีจริยธรรมอย่างสมบูรณ์

ด้านสาธารณูปการ ได้บูรณะซ่อมแซมและปรับปรุงถาวรวัตถุภายในพระอาราม ที่ชำรุดทรุดโทรมให้กลับมางดงาม ตลอดทั้งสร้างถาวรวัตถุเสนาสนะเพิ่มเติมให้เพียงพอแก่การปฏิบัติศาสนกิจอย่างเหมาะสม เป็นที่ประจักษ์ ร่วมให้ความอนุเคราะห์ก่อสร้างโรงพยาบาลบางแพ อำเภอบางแพ จังหวัดราชบุรี และยังให้ความช่วยเหลือทางราชการ ในการสงเคราะห์ผู้ป่วยโรคเรื้อนฯ ในฐานะประธานมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อนฯ ฟื้นฟูจิจตใจและความเป็นอยู่ของผู้ป่วยและครอบครัวให้ได้รับความสุขยิ่งขึ้น

ด้านการเผยแผ่ นอกจากการดำเนินการเผยแผ่พระพุทธศาสนาในตำแหน่งหน้าที่ต่างๆ ซึ่งมีผลก่อให้เกิดความรู้ความเข้าใจธรรมะ แห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ่าอย่างลึกซึ้งแล้ว ยังมีงานเป็นกรรมการอบรมพระธรรมฑุตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต) ได้ประยุกต์ผลจากการเดินทางไปดูงานการพระศาสนาในประเทศต่างๆ มาปรับใช้ให้เกิดประโยชน์ต่อการเผยแผ่ทั้งในประเทศและต่างประเทศได้เป็นอย่างดี มีอุตสาหะวิริยะอย่างมั่นคงในการแสดงธรมอบรมประชาชน ตลอดทั้งข้าราชการ ทหาร ตำรวจ นักเรียน และนักศึกษา ให้เกิดศรัทธาปสาทะในบวรพระพุทธศาสนาในวันธรรมสวนะตลอดมา รับอาราธนาเป็นพระธรรมกถึกแสดงพระธรรมเทศนาทางสถานีวิทยุกระจายเสียงแห่งประเทศไทยของกรมประชาสัมพันธ์ และสถานีวิทยุโทรทัศน์ในโอกาสต่างๆ เป็นให้เกิดความเข้าใจและเลื่อมใสในแนวทางปฏิบัติของพระพุทธศาสนา ซึ่งสาธุชนทั่วไปสามารถน้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน อันเป็นผลให้เกิดความสงบมั่นคงในชาติบ้านเมืองได้อย่างแท้จริง

นอกจากนี้ ท่านเจ้าประคุณสมเด็จฯ ยังเป็นผู้นำพาพระภิกษุ และสัทธิวิหาริก ซึ่งเป็นพระลูกศิษย์ ทั้งภายในวัดมกุฏกษัตริยาราม และมหามกุฏราชวิทยาลัย ไปร่วมปฏิบัติวิปัสนากรรมฐานกับพระวิปัสนาจารย์หลายรูปด้วยกัน เช่น พระอาจารย์หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี วัดหินหมากเป้ง จ.หนองคาย และพระอาจารย์สมชาย ฐิตวิริโย วัดเขาสุกิม จ.จันทบุรี เป็นต้น
สรรพกรณียกิจ พระธรรมปัญญาจารย์ ได้ปฏิบัติบำเพ็ญเป็นผลดีแก่พระพุทธศาสนาและพระราชอาณาจักร ดังพรรณา นับเป็นผู้เจริญยิ่งด้วยคุณธรรมอนันตปรีชาสามารถในการบริหารพระศาสนา เป็นที่ปรากฎแก่มวลพุทธบริษัทและทางราชการ ตลอดจนถึงประชาชนทั่วไป

บัดนี้ พระธรรมปัญญาจารย์ ก็เจริญด้วยพรรษายุกาล รัตตัญญุมหาเถรกรณธรรมมั่นคงอยู่ในพรหมจรรย์เนขัมมปฏิปทา มีวัตรจริยาน่าเลื่อมใส เป็นหลักอยู่ในคณะสงฆ์รูปหนึ่ง เป็นที่เคารพสักการะแห่งพุทธมามกชนโดยทั่วไป สมควรยกย่องให้ดำรงในสมณฐานันดรที่สมเด็จพระราชาคณะสืบไป

จึงมีพระบรมราชโองการโปรดสถาปนา พระธรรมปัญญาจารย์ ขึ้นเป็นพระราชาคณะ มีราชทินนามตามที่จารึกในสุพรรณบัฎว่า “พิพัฒนพงศ์วิสุต พุทธพจนานุสิฐ วิจิตรปฏิภาณ พัฒนคุณ วิบุลศีลสมาจารวัตรสุนทร ตรีปิฏกธรรมวราลงกรณ์ ธรรมยุตติก คณิสสร บวรสังฆาราม คามวาสี อรัญวาสี สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร พระอารามหลวง”

รักษาการเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต
เมื่อ เจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงเริ่มมีพระอาการประชวร เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ได้ปฏิบัติหน้าที่เป็น ประธานคณะกรรมการบริหารคณะธรรมยุต แทน เจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวรฯ เสมอมา จนในที่สุด เมื่อเจ้าพระคุณ สมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราช ทรงประชวร คณะแพทย์ผู้รักษามีมติให้พระองค์ทรงงดปฏิบัติศาสนกิจ ทั้งปวง มหาเถรสมาคมได้แต่งตั้ง เจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เป็น คณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช และรักษาการเจ้าคณะใหญ่ คณะธรรมยุต

prajuab24     prajuab25

งานในความรับผิดชอบของเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ตั้งแต่ พ.ศ.2526-2551 สามารถสรุปได้ดังนี้

- เป็นอธิการบดี มหาวิทยาลัยมหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นกรรมการอบรมพระธรรมฑูตต่างประเทศ (ธรรมยุต)
- เป็นอนุกรรมการศูนย์ควบคุมการไปต่างประเทศ สำหรับพระภิกษุสามเณร (ศ.ต.ภ.)
- เป็นกรรมการบริหารคณะธรรมยุต
- เป็นกรรมการเถรสมาคมธรรมยุต
- เป็นผู้อำนวยการมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย
- เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิสงเคราะห์คนเป็นโรคเรื้อนฯ
- เป็นประธานคณะกรรมการมูลนิธิธัมมสิริ
- เป็นกรรมการมูลนิธิมหาวชิราลงกรณราชวิทยาลัย (ม.ว.ก.)
- เป็นกรรมการมูลนิธิสิรินธร (ส.ธ.)
- เป็นกรรมการมูลนิธิมหามกุฏราชวิทยาลัย
- เป็นกรรมการมูลนิธิสมเด็จพระสังฆราช อุฏฐายีมหาเถระ
- เป็นกรรมการมหาเถรสมาคม
- เป็นประธานกรรมการบริหารสำนักอบรมพระธรรมฑูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
ประธานกรรมการบริหารสำนักงานกำกับและดูแลพระธรรมฑูตไปต่างประเทศ (ธรรมยุต)
-เป็นคณะผู้ปฏิบัติหน้าที่สมเด็จพระสังฆราช
- เป็นผู้รักษาการแทนเจ้าคณะใหญ่คณะธรรมยุต

อาจาระในเจ้าประคุณ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์
สรรพกรณียกิจทั้งปวง ที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ สามารถปฏิบัติให้เกิดประสิทธิผลอันดี สรรสร้างคุณประโยชน์แก่ประเทศชาติ พระพุทธศาสนา และสถาบันพระมหากษัตริย์เป็นได้ด้วย วิหารธรรมที่สำคัญ คือ กตัญญูกตเวทิตาธรรม เป็นที่ประจักษ์แก่สาธารณชนที่ได้รู้จักเจ้าประคุณสมเด็จฯ ว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ ระลึกถึงพระคุณบุรพการีชนอยู่เสมอ ที่กุฎีจะจัดที่บูชาอันมีรูปบุรพการีชน เช่น โยมบิดา โยมมารดา สมเด็จฯ พระอุปัชฌาย์ พ.ท.วิบูล สิริสุภาส พลตำรวจเอิบ ผลเอนก พร้อมทั้งทำเปตพลีอุทิศส่วนกุศลแด่บุรพการีชนตามสมัยเสมอมา

prajuab26   prajuab27

 

วิหารธรรมอีกประการหนึ่ง คือ ความอ่อนน้อมถ่อมตน เป็นอุปนิสัยที่เจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้แสดงให้ปรากฏอยู่เสมอ ทั้งต่อพระมหาเถระและพระอนุเถระ ที่ประทับใจผู้พบเห็นเสมอ คือ เจ้าประคุณสมเด็จฯ จะถวายความเคารพแด่ สมเด็จพระญาณวโรดม (ประยูร สันตังกุโร) ผู้เป็นอาจารย์เสมอในทุกโอกาส เป็นแบบอย่างของศิษยานุศิษย์เสมอ

เจ้าประคุณสมเด็จฯ ไม่เคยแสดงอาการโกรธ หรือไม่พอใจ ในผู้ใต้บังคับบัญชาให้ปรากฎ แสดงถึงขันติธรรมของท่าน ทำให้ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เป็นร่มโพธิ์ร่มไทรของศิษยานุศิษย์

ด้วยอาจาระที่งดงามของ เจ้าประคุณสมเด็จฯ เช่นนี้ จึงสมกับพุทธภาษิตที่ยกมาเป็นนิกเขปบท ณ เบื้องต้นว่า นรชนจะเป็นผู้มีชาติเลวทราม แต่เป็นผู้มีความขยันหมั่นเพียร มีปัญญา ประกอบด้วยอาจาระและศีล ย่อมจะเจริญรุ่งเรือง เหมือนกองไฟในกลางคืน ฉะนั้น

การมรณภาพ
เมื่อ พ.ศ.2535 เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ พระธรรมธัชมุนี มีอาการอาพาธรุนแรงเป็นครั้งแรก คณะแพทย์ตรวจพบว่า เป็นโรคเบาหวานและโรคหัวใจ การอาพาธครั้งนี้ ได้เข้าพักรักษาที่โรงพยาบาลศิริราชจนอาการดีขึ้น สามารถกลับมาปฏิบัติศาสนกิจได้ตามปกติ แต่เมื่อ พ.ศ.2543 ขณะดำรงสมณศักดิ์ที่ สมเด็จพระพุทธชินวงส์ คณะแพทย์ตรวจพบว่า เจ้าประคุณสมเด็จฯ นอกจากจะมีอาการอาพาธด้วยโรคเบาหวานและโรคหัวใจแล้ว ยังอาพาธเป็นโรคไต ทำให้เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ ต้องรับการล้างไตสัปดาห์ละ 2 ครั้ง เป็นต้นมา

จนกระทั่งเมื่อวันที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2550 เวลา 03.00 น. เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง คณะศิษย์ได้นำท่านส่งโรงพยาบาลศิริราช เพื่อเข้ารับการรักษา คณะแพทย์ได้ทำการขยายหลอดเลือดหัวใจจนอาการดีขึ้นเป็นลำดับ และสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทรงรับไว้ในพระบรมราชินูปถัมภ์ ซึ่งเจ้าประคุณสมเด็จฯ ได้เข้าพำนักรักษาประจำอยู่ที่โรงพยาบาลศิริราชตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา โดยการดูแลของคณะแพทย์อย่างใกล้ชิด

เมื่อวันที่ 1 มกราคม พ.ศ.2551 เจ้าประคุณสมเด็จฯ มีอาการหายใจช้าและแรงผิดปกติ รวมทั้งมีเสมหะมาก คณะแพทย์ได้ทำการเอกซเรย์ เบื้องต้นพบว่า มีอาการติดเชื้อที่ปอด แต่เมื่อเจ้าประคุณสมเด็จฯ มีความดันและการเต้นของหัวใจผิดปกติ คณะแพทย์ได้ทำการเอกซเรย์ และตรวจเลือดอย่างละเอียดอีกครั้งหนึ่ง พบว่า ท่านมีอาการติดเชื้อในปอดและกระแสเลือดอย่างรุนแรง คณะแพทย์ได้ทำการรักษาเต็มกำลังความสามารถ แต่ด้วยร่างกายและระบบต่างๆ ภายในร่างกายไม่ตอบสนอง รวมทั้งเลือดเป็นกรด ได้มรณภาพลงด้วยอาการสงบ ในเช้าวันที่ 3 มกราคม พ.ศ. 2551 เวลา 07:53 น. ณ ตึกอัษฎางค์ ชั้น 3 โรงพยาบาลศิริราช สิริรวมอายุ 81 ปี 5 เดือน 12 วัน พรรษา 61

สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี เสด็จฯประกอบพิธีพระราชทานน้ำหลวงสรงศพสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ เมื่อวันที่ 4 มกราคม พ.ศ. 2551 ณ วัดมกุฎกษัตริยาราม กรุงเทพฯ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพิธีสวดพระอภิธรรมในพระบรมราชานุเคราะห์ ระหว่างวันที่ 4-10 มกราคม พ.ศ. 2551 พระราชทานเพลิงศพ เจ้าประคุณสมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กนฺตาจารเถร) ในวันเสาร์ที่ 14กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2552 เวลา 16.00 น. ณ เมรุหลวงหน้าพลับพลาอิศริยาภรณ์ วัดเทพศิรินทราวาส กรุงเทพมหานคร.

ปรับปรุงล่าสุด: วันที่ 27 ตุลาคม พ.ศ.2561
ขอขอบคุณข้อมูล: หนังสือนุสรณ์ในงานพระราชทานเพลิงศพ สมเด็จพระพุทธชินวงศ์ (ประจวบ กันตาจาโร)
วัดมกุฏกษัตริยาราม วันเสาร์ที่ 14 กุมภาพันธ์ พ.ศ.2552
(https://th.wikipedia.org)
(https://www.facebook.com/สมเด็จพระพุทธชินวงศ์-ประจวบ-กันตาจาโร -
226821301178123) (www.dhammajak.net)
https://www.facebook.com/mvkmember.mahavajiralongkorn

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช (จวน อุฏฺฐายี)

สมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราช พระนามเดิม จวน ศิริสม ฉายา อุฎฺฐายี สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ 16 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ สถิต ณ วัดมกุฏกษัตริยารามราชวรวิหาร ทรงดำรงตำแหน่งเมื่อปี พ.ศ. 2508 ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงดำรงตำแหน่งอยู่ 7 ปี สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ เมื่อวันที่ 18 ธันวาคม พ.ศ. 2514 สิริพระชันษา 74 ปี